วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความต้องการและแรงจูงใจ
นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงได้มีความคิดในเรื่องความต้องการต่าง ๆ กัน ดังนี้
                แนวความคิดของ อิริค ฟรอมม์ อธิบายว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่ 6 ประการ
                 1.  ความต้องการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับคนอื่น
                 2.  ความต้องการทำในสิ่งที่ดีกว่าและเป็นผู้มีประสิทธิภาพ
               3.  ความต้องการสร้างรากฐานที่มั่นคงและมีสิ่งยึดเหนี่ยว  ต้องการความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ต้องการความผูกพัน
                4. ความต้องการมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง
                5. ความต้องการเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างชัดเจน และต้องการมีชีวิตอยู่มีความหมายและมีความรัก
                6. ความต้องการแสวงหาสิ่งตื่นเต้นและสิ่งเร้าต่าง ๆ ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย ความสนใจและสิ่งเร้าที่ทำให้กระตือรือร้นในการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ และการดำเนินชีวิต

                ธรรมชาติของมนุษย์ในแนวความคิดของนักสังคมวิทยา
                มรว. สมพร สุทัศนีย์ (2537 : 43 - 44) ได้กล่าว ไว้ว่ามนุษย์คือสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอยู่รวมกันอย่างสงบสุขนั้น จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาทางสังคมเพื่อเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม กฎเกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า ปทัสถาน (Norms) ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท คือ วิถีประชา (Folkways) จารีตประเพณี (Mores) และกฎหมาย (Laws)
                1. กลุ่มญาติพี่น้อง สมาชิกในกลุ่มรวมตัวกันจากความสัมพันธ์ทางสายเลือด บุคคลในกลุ่มนี้มีความใกล้ชิด สนิทสนมมีความผูกพันกันมากจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระดับสูง กลุ่มพวกนี้ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกัน รวมทั้งคู่สมรส
                2. กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนบ้านใกล้ชิด สนิทสนม มีการติดต่อสัมพันธ์กันฉันท์มิตรให้ความช่วยเหลือโดยมิได้หวังผลตอบแทน ส่วนกลุ่มเพื่อนบ้านเช่น กลุ่มเพื่อนฝูงโรงเรียนเก่า รุ่นพี่รุ่นน้อง รุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนิทสนมกันมีความสัมพันธ์แบบถือวิสาสะกันได้มากพอสมควร
                3. กลุ่มเพื่อนร่วมงาน กลุ่มนี้เป้นกลุ่มไม่เป็นทางการ ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก เพราะบุคคลส่วนใหญ่ใช้เวลาในที่ทำงาน บุคคลในกลุ่มนี้จึงมีความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือกัน
                4. กลุ่มความสนใจ กลุ่มความสนใจเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากบุคคลมีความสนใจคล้าย ๆ กัน วัยรุ่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มทางเศรษฐกิจ กลุ่มนักเล่นกล้วยไม้ กลุ่มซุบซิบนินทา

                สำหรับทฤษฎีองค์การแบบต่าง ๆ มีคติฐาน (Assumptions) เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ดังนี้
                                1. ทฤษฎีองค์การแบบคลาสสิคหรือทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม
                                2. ทฤษฎีองค์การแนวมนุษย์สัมพันธ์
                                3. ทฤษฎีองค์การเน้นทรัพยากรมนุษย์

                ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวทฤษฎีการจูงใจในการบริหาร
                1. ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  Maslow  ได้เสนอทฤษฎีแรงจูงใจซึ่งอธิบายถึงลำดับขั้นตอนความต้องการ (Hierarchy of Needs) ซึ่งเป็นที่มาของแรงจูงใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการตอบสนองย่อมมีผลกระทบต่อพฤติกรรม  Maslow  กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ว่าจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและความต้องการในรำดับต่ำจะต้องได้รับความพึงพอใจอย่างมากก่อนที่ความต้องการในลำดับต่อไปจะจูงใจหรือกระตุ้นพฤติกรรมตามความต้องการในอันดับต่อมา
                ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มีดังนี้
                ขั้น 1 ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย
                ขั้น 2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต คือ ความต้องการความปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ ต้องการความมั่นคงในชีวิตไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือการทำงาน
                ขั้น 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ คือ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเป็นมิตรจากบุคคลอื่น
                ขั้น 4 ความต้องการได้รับการยกย่องสรรเสริญ ชื่อเสียง เป็นการต้องการยอมรับจากบุคลอื่น การมีเกียรติ การมีชื่อเสียงในสังคม อยากมีตำแหน่ง มีอำนาจ เป็นต้น
                ขั้น 5  ความต้องการความสำเร็จ หรือต้องการตระหนักในตน เป็นการต้องการความสำเร็จ สมหวังในชีวิตตามที่บุคคลนั้นปรารถนา เช่น ต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งสูง หรือต้องการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ในสังคม
                2. ทฤษฎีความต้องการของลัมคินส์ (Lumking) ลัมคินส์ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ประการ คือ
                1.1 ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
                1.2 ความต้องการมีศักดิ์ศรีในตนเอง
                1.3 ความต้องการการยอมรับจากสังคม
                1.4 ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด
                1.5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
  “ มนุษย์ต้องการมีชีวิตรอด    “ ต้องการการยอมรับจากสังคม
                3. ทฤษฎีความต้องการ ERG.  Clayton  Aiderfer                *ความต้องการดำรงอยู่
                *ความต้องการความสัมพันธ์
                *ความต้องการการเจริญเติบโต
                ตามทฤษฎี ERG. ความต้องการการดำรงอยู่จะเป็นความต้องการระดับต่ำสูงความต้องการเหล่านี้จะรวมความต้องการทางร่างกาย และความต้องการความปลอดภัย  Maslow  เข้าไว้ ความต้องการความสัมพันธ์จะรวมความต้องการทางสังคมและความต้องการการมีเกียรติยศชื่อเสียงของ  Maslow  เข้าไว้  และความต้องการการเจริญเติบโตจะเป้นความต้องการระดับสูงสุดภายในลำดับความต้องการของ  Alderfer
                4. ทฤษฎีจูงใจและธำรงรักษา  Frederick  Herzberg
                ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจคนในการทำงาน  เรียกว่า  คนเรามีความต้องการที่แยกออกจากกัน  โดยอิสระอยู่ 2 ประเภท และแต่ละประเภทมีผลต่อพฤติกรรมของคน  ในทางที่ต่างกัน
                4.1 ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงานหรือปัจจัยจูงใจ
                                - ลักษณะงาน      
                                - ความก้าวหน้า  
                                - การยอมรับนับถือ            
                                - ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
                                - สัมฤทธิผลของงาน
                                - ความเจริญเติบโตขององค์การ
4.2 ปัจจัยที่ป้องกันการเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน หรือปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยธำรงรักษา  ได้แก่
                - สภาพการทำงาน                             
                - ผลตอบแทน
                - การนิเทศงาน                   
                - สถานภาพตำแหน่ง
                - นโยบายขององค์การและการบริหารงาน
                - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
                ในแง่การบริหาร ผู้บริหารจะต้องหมั่นปรับปรุงและเสริมสร้างปัจจัยที่ป้องกันการเกิดความไมพึงพอใจในการทำงาน ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
                5. ทฤษฎีจูงใจในการบริหารของ  Douglas
ของมนุษย์ตามแนวทฤษฎี X และทฤษฎี Y  ไว้ดังนี้
                1.    Theory – X  เชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะดังนี้
                              1.1  มนุษย์มีความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน มักจะหลบเลี่ยงการทำงานเมื่อมีโอกาส ดังนั้นจึงต้องจูงใจด้วยการบังคับควบคุม ลงโทษ ขู่ เพื่อให้เกิดความเกรงกลัว
                               1.2   มนุษย์จะชอบเป็นผู้ตาม ชอบรับคำสั่งจะพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย แต่ต้องการความมั่นคงในการทำงาน 
                2.  Theory – Y  เชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะดังนี้
                                2.1  มนุษย์มีความรักงาน จะทำงานด้วยความสุข การใช้แรงกายและสมองในการทำงาน ก็อาจทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือพึงพอใจ
                                2.2  มนุษย์จะมีการควบคุมตนเองในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การบริหารงานด้วยวิธีบังคับ ลงโทษ ข่มขู่ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะคนเราต้องรับผิดชอบในงานที่เขาทำและสามารถควบคุมตนเองได้
                                2.3  คนเรามิได้จูงใจได้ด้วยเงินเสมอไปแต่อย่างเดียว แต่จะเต็มใจทำงานหรือจูงใจได้ด้วยการตอบสนองความต้องการของเขาด้านสังคม การยอมรับนับถือและความสมหวังในชีวิต
                                2.4  มนุษย์จะมีความสนใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิด ทักษะการทำงานตลอดจนความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการทำงาน
                                2.5  มนุษย์ปรารถนาความก้าวหน้า   มีความสามารถที่จะปฏิบัติงาน  และพร้อมที่จะรับผิดชอบเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์  ดังนั้นองค์การหรือฝ่ายบริหารควรช่วยกระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงคุณสมบัติที่เขามีอยู่และเปิดโอกาสให้เขาแสดงความสามารถนั้น  และพยายามทำให้ความปรารถนาหรือความต้องการของบุคลากรสอดคล้องกับความต้องการขององค์การ
อ้างอิง
อ.จิตติมา  พลศักดิ์














ค่านิยม

ค่านิยม
                ค่านิยม
                ค่านิยมเป็นสิ่งที่คนในสังคมยอมรับว่ามีคุณค่า การปลูกฝังค่านิยมในสังคมไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในการดำเนินชีวิตระหว่างสมาชิกในสังคมให้สอดคล้องสัมพันธ์กันช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม เมื่อมีการรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาทำให้มีผลกระทบต่อ การดำเนินชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมไทย ให้เยาวชนได้รับรู้และสืบทอดต่อไป
                ความหมายของค่านิยม
                                ค่านิยม ( Value ) หมายถึง สิ่งที่สังคมหนึ่งๆเห็นว่าเป็นสิ่งมีค่า น่ายกย่อง น่ากระทำ หรือเห็นว่าถูกต้อง และเป็นแนวทางที่คนในสังคมยึดถือไว้เพื่อประพฤติปฏิบัติ ค่านิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท
                                                1. ค่านิยมของบุคคล ซึ่งบุคคลจะแสดงออกให้เห็นได้จากการตัดสินใจของตนเอง ทั้งนี้ย่อมแตกต่างไปตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล
                                                2. ค่านิยมของกลุ่มหรือค่านิยมของสังคม ซึ่งชี้ให้เป็นถึงการเลือกสรร การยกย่อง และสิ่งที่บุคคลทั่วไปในสังคมปรารถนาว่ามีอะไรบ้าง สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้สมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ สืบทอดจนกลายเป็นวัฒนธรรม เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่ากระทำน่ายกย่อง
                ความสำคัญของค่านิยม
                1.ค่านิยมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคม สังคมจะเจริญก้าวหน้าหรือเสื่อมขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสังคมนั้นๆ การสร้างค่านิยมที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การเห็นอกเห็นใจกัน การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การปลูกฝังให้มีความรัก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคม
                2.ค่านิยมมีผลกระทบต่อความเจริญและความเสื่อมของสังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ สังคมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว คนในสังคมนั้นต้องมีค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น ส่วนค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ย่อมทำให้สังคมนั้นเสื่อมและเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ไม่มีวินัย เกียจคร้าน เล่นการพนัน เป็นต้น
                3.ค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะค่านิยมบางอย่างได้สร้างแกนของวัฒนธรรม เช่น ค่านิยมความรักอิสรภาพของไทย ทำให้ชาติไทยรักษาความเป็นเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้ ความอิสรเสรีจึงเป็นแกนของวัฒนธรรม
                4.ค่านิยมบางอย่างมีผลจากสภาพแวดล้อมของสังคม ค่านิยมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เช่น คนไทยในสมัยโบราณนิยมสร้างวัด เพราะมีความเชื่อได้บุญกุศลมาก นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคม ปัจจุบันได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกค่านิยมในการสร้างวัดเปลี่ยนไป
ค่านิยมทั่วไปในสังคมไทย
                1.นิยมความร่ำรวย มั่งคั่ง คนร่ำรวยจะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในสังคม คนรวยจะต้องการสิ่งใดย่อมใช้เงินซื้อได้ตามความประสงค์ ดังนั้นทุกคนจึงดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคั่ง เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เงินทอง เป็นต้น
                2.นิยมอำนาจ สังคมไทยยกย่องผู้มีอำนาจ ให้ความเคารพและเกรงกลัวบารมี คนไม่มีอำนาจ คนในสังคมจะไม่เกรงใจ ดังนั้นคนไทยอยากจะเป็นคนที่มีอำนาจ เพื่อให้ได้รับการยกย่องและเกรงกลัวจากคนในสังคม ซึ่งการแสวงหาอำนาจอาจจะทำในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้เงินซื้อเสียงและตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น
                3. เคารพผู้อาวุโส ผู้อาวุโสหมายถึง ความอาวุโสด้านอายุ ตำแหน่งหน้าที่การงาน คุณวุฒิ ชาติสกุล การเคารพผู้อาวุโสได้รับการปลูกฝังสืบต่อกันมาจนเป็นวิถีชีวิตที่พึงปฏิบัติในสังคมไทย เช่น สถาบันครอบครัวจะอบรมสั่งสอนให้เคารพพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย สถาบันการศึกษาจะอบรมให้เคารพครู อาจารย์ รุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ เป็นต้น
                4.รักสนุก กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของสังคมไทย มักสอดแทรกความสนุกสนานแฝงไว้ เช่น ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีโกนจุก ประเพณีรับน้องใหม่ งานฉลองวันเกิด เป็นต้น
                5. บริโภคนิยม คนไทยส่วนใหญ่สนใจเรื่องบริโภคมาก ชอบเสาะแสวงหาอาหารรับประทานเป็นพิเศษ นิยมบริโภคอาหารรสจัด อาหารสด และอาหารแปลกๆ เช่น ผัดเผ็ดงู ยำมันสมองหมู ต้มซุปหางวัว เป็นต้น
                6.นิยมความหรูหรา คนไทยนิยมแสดงออกที่ความหรูหรา มีหน้ามีตาในสังคม เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีสถานภาพทางสังคมสูง เช่น จัดงานใหญ่ แต่งกายด้วยของมีค่า มีเครื่องใช้ที่ทันสมัยและราคาแพง เป็นต้น
                7. นิยมเครื่องรางและโชคลาง เป็นค่านิยมเรื่องความเชื่อและการนับถือผีสางเทวดามักนิยมทำเครื่องราง ปะพรมน้ำมนต์เพื่อขจัดภัยต่างๆ เพื่อความสบายใจและเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เมื่อประสบภัยจะมีการสะเดาะเคราะห์และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยการดูฤกษ์ยาม เช่น การเดินทาง การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
                8.นิยมการทำบุญสร้างวัด ปิดทองฝังลูกนิมิตร คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าการทำบุญจะส่งผลดีให้ตนทั้งชาตินี้และชาติหน้า ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป คนทำบุญลดน้อยลง และการทำบุญเริ่มนิยมทำกันหลายรูปแบบ เช่น การเลี้ยงเด็กพิการ การสงเคราะห์เด็กกำพร้า การสร้างโรงเรียน เป็นต้น9. นิยม          9.พูด หรือบอกเล่าเกินความเป็นจริง เป็นการสร้างบรรยากาศให้ตื่นเต้นมีรสชาติสนุกสนานและยกตนเองให้มีค่าขึ้นเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ดังนั้น สุภาษิตไทยจึงกล่าวไว้ว่า สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น ฟังหู ไว้หู เพื่อเตือนใจให้เห็นข้อเท็จจริงด้วยตนเอง
ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา

อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
                ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University









การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง

การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
ความเชื่อมั่นในตนเอง
                ความเชื่อมั่นในตนเอง หมายถึง
       ความแน่ใจหรือมั่นใจหรือความกล้าที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามที่กำหนดไว้ หรือตั้งใจไว้แม้จะมีเหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดมาเป็นอุปสรรค  ก็ไม่ท้อถอย แต่ยังคงตั้งใจกระทำสิ่งนั้น ๆ ต่อไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ 

                พื้นฐานในการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
                                1. การขาดความภูมิใจในความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่เด็กๆ อาจจะมาจากการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเช่น พ่อแม่ติชมลูกไม่ถูกกาลเทศะ ชมมากไปก็ไม่ดี เด็กไม่ภูมิใจ ตำหนิมากไปก็ลืมมองความดีของลูก พยายามหาแต่ข้อไม่ดีมาตำหนิ เกิดการหมดกำลังใจหมดความภูมิใจ เมื่อเติบโตก็จะทำให้กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่น ความรักในตนเอง
                                2. การคิดดูถูกตนเองว่าเป็นคนไม่ดี ไม่เก่ง ซึ่งมาจากนิสัยที่ชอบโทษตัวเอง ประจานตัวเอง และ ลงโทษตัวเองตลอดเวลา เมื่อมีเหตุการณ์ผิดพลาด หรือ ไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิต
                                3. มีลักษณะของการถูกข่มขู่มาตั่งแต่เด็กๆ ทำให้ไม่มีโอกาสได้แสดงออก หวาดกลัว การโดนว่า รังแก ทั้งทางตรง และ ทางอ้อม ย่อมส่งผลให้ผู้นั้น มีอาการไม่มั่นใจ และ ไม่เชื่อมั่นในตนเองได้
                                4. มีนิสัยชอบเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น คิดว่า คนอื่น เก่งกว่า สวยกว่า หล่อกว่า หรือ ดีกว่า มักจะมองหาปมด้อยแก่ตนเอง เพื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆอยู่เสมอ นานๆเข้ากลายเป็นคนชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น และ ขี้อิจฉา
                                5. การที่มีข้อ หรือ ปมด้อย ที่ตนเองคิดว่า คนอื่นจะรู้หรือสังเกตเห็นได้ ทำให้ไม่สบายใจ หรือไม่มั่นใจ เช่น คิดว่า ตัวเองผิวคล้ำดำ ไม่สวย คนอื่นจะต้องเห็นว่าตัวเองตัวดำ ดูตลก ทั้งๆที่คนอื่นไม่คิด ตัวเองก็จะคิดไปก่อน ทำให้หมดความมั่นใจในตนเองได้

                หลักในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1.             การเตรียมตัว  ความประหม่าในการปริมาณพอเหมาะนั้นมีประโยชน์ เพราะเป็น
สัญชาติญาณทางธรรมชาติในการเตรียมตัวเราให้พร้อม เพื่อเผชิญกับการท้าทายอันไม่คุ้นเคย การเตรียมข้อมูล จะต้องวิเคราะห์เจาะลึกในเรื่องที่จะพูด ศึกษาค้นคว้าข้อมูล การเตรียมการพูด ต้องทุ่มเท มีความใส่ใจกับจุดใหญ่ใจความสำคัญของหัวข้อนั้น และต้องมีทัศนคติที่ถูกต้อง  
                2.บุคลิกภาพที่ดี  หมายถึง บุคลิกภาพที่น่าประทับใจเริ่มตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวกัน เพราะอีกฝ่ายมักคาดหวังเอาจากประวัติความเป็นมาของเรา เมื่อเจอหน้ากันภายใน 5 วินาทีแรกเราก็จะถูกประเมินแล้ว่าเป็นคนเช่นไรจากบุคลิกภาพภายนอก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเห็น ไม่ว่าจะสุขภาพร่างกาย หน้าตา ทรงผม เสื้อผ้า แต่งตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ ลีลาท่าทางต่าง ๆ หากมองกันลงไปลึก ๆ แล้ว ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง เริ่มตนขึ้นจากภายในทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ความคิดที่มีต่อตนเอง ต่อสังคม      3.รู้จักตนเอง คือการเรียนรู้ตนเอง หาจุดดีจุดด้อยของตนเอง เพื่อพยายามหาทางแก้ไขข้อบกพร่อง และส่งเสริมจุดเด่นของเรา การรู้จักตนเอง ไม่เพียงรู้จักแต่นิสัยที่แท้จริงของเรา แต่เราต้องรู้ให้ลึกว่า อะไรที่ทำให้เรารู้สึกดี อะไรที่ทำให้เรารู้สึกแย่ และอวัยวะส่วนไหนของเราดูดี ส่วนไหนที่เราไม่ค่อยมั่นใจ
                4.พิ่มพูนทักษะที่จำเป็ จะต้องทราบจุดด้อยของตัวเราก่อนว่าจะต้องเรียนรู้สิ่งใดเพิ่มเติม เพื่อแก้ไข และสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง เราจำเป็นต้องศึกษา หาความรู้ ฝึกฝน ให้รู้และเชี่ยวชาญ เพราะการเรียนรู้มากก็ยิ่งมีความรู้มาก มีความรู้มากก็มีคนให้คำแนะนำปรึกษามากขึ้น
                5.คิดในทางบวก สิ่งที่ผู้อื่นพูดอาจจะเป็นข้อมูลหรือเป็นประโยชน์กับเราได้ ถ้าเรามองในด้านดี การเป็นคนคิดในทางบวก เป็นการป้องกันอันตรายทางความคิดที่จะเกิดกับตัวเราในอนาคต ถ้าเรามองโลกในแง่ร้าย ทุกอย่างรอบตัวก็ดูจะแย่ และอาจจะหมดกำลังใจได้โดยง่าย
                6.รู้จักให้กำลังใจ เวลาที่จะทำอะไรดี ๆ สักครั้ง แทนที่จะนั่งรอให้ใครมาชื่นชม ควรรู้จักที่จะให้กำลังใจและควรชมตัวเองก่อน มันจะเป็นความรู้สึกที่ดีมาก และจะย้ำความเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็ต้องหมั่นรู้สึกถึงความดีที่บุคคลรายรอบตัวคุณเขาทำด้วย แม้ใครจะไม่เห็นแต่เราเห็น อย่าลังเลที่จะแสดงความชื่นชมกับสิ่งดี ๆ ที่เขาทำ
                7.นิยมความสำเร็จ การเป็นคนนิยมความสำเร็จ จะทำให้เราตั้งใจทำสิ่งต่างๆด้วยความตั้งใจ และ อยากทำให้ดีที่สุดนั่นเองเชื้อไฟที่ดีที่สุดในการทำให้ไฟในชีวิตลุกโชนมากขึ้น ก็คือ การประสบความสำเร็จในการทำสิ่งต่างๆ แม้นกระทั่งคำชมเชยจากหัวหน้า เพื่อน หรือ คนในครอบครัว ก็สามารถทำให้เรามีความสุข และ มีพลังในการทำสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การติดในคำชื่นชม ก็ไม่เป็นการดีต่อตนเอง ดังนั้น จงฉลาดเลือกการได้รับคำชมจากคนที่มีคุณค่า และ ดีพอเท่านั้น เพราะ ความจริงแล้ว ถ้าเราทำอะไรสำเร็จ แม้นจะเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น การแก้นิสัยเกียจคร้านของตนเองได้ เราเองก็จะภูมิใจในตนเองได้โดยไม่ต้องให้คนอื่นชื่นชมก็ได้ และ เราก็สามารถมีกำลังใจ ทำการใหญ่ๆ ให้สำเร็จได้ง่ายมากขึ้น
                8.เป็นคนชอบการแก้ไขมากกว่าบ่น หรือ ท้อแท้ เรียนรู้ความจริงว่า ชีวิตย่อมมีอุปสรรค ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่สิ่งที่จะทำให้สิ่งต่างๆแตกต่างกันออกไป ก็คือ ใครเรียนรู้ที่จะแก้ไขมากกว่าท้อแท้ รวมทั้งปัญหาบางอย่างก็เป็นเรื่องเล็กน้อย ก็ไม่ควรนำมาทำให้เป็นปัญหาใหญ่ของตนเอง เช่น เราอาจจะเป็นคนตัวเล็ก ผิวคล้ำ เราก็ไม่ควรนำมาเป็นปมด้อย หรือ ลดความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะ ถ้าเราทำหน้าที่ต่างๆ รวมทั้ง ขยัน พูดจาดี สิ่งต่างๆเหล่านั้น ก็ไม่เป็นอุปสรรคทำให้ใครๆ มองเห็นว่าเป็นปมด้อย หรือ ทำให้เราไร้ค่าในสายตาใคร
                9.เห็นคุณค่าของตนเอง และ สิ่งที่ตนเองมีมีคนมากมาย ที่ชอบมองหาสิ่งที่อยู่ห่างตนออกไป โดยลืมมองหาสิ่งที่มีค่าของตนเอง ซึ่งบางทีคนอื่นอาจจะเห็นว่าเรามีดี มีอะไรที่มีคุณค่าในตนเอง แต่ตัวเราเองกลับมองไม่เห็นคุณค่าในสิ่งนั้น
                10.ฝึกจิตใจให้สงบ และ อารมณ์เย็น เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่สงบเมื่อถึงคราวต้องสงบ และ กระตือรือร้นเมื่อต้องกระตือรือร้น การฝึกสมาธิ หรือ การสร้างพลังใจให้แก่ตนเอง โดยการสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ภายใน ย่อมส่งผลให้เรามีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
                11.รู้จักวางตัวรู้จักการวางตัวในแต่ละสถานการณ์ แต่ละบุคคล ได้อย่างดีและเหมาะสม จะยิ่งทำให้เราเป็นผู้มีเสน่ห์ และ มีมารยาท เรื่องนี้ สามารถฝึกกันได้ ซึ่งถ้าต้องเข้าสังคมระดับสูง มารยาทการทานอาหาร อาจต้องเป็นพิธีการมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ เราอาจจำเป็นต้องอาศัยการฝึกอบรมเพิ่มเติมแต่ถ้าเป็นทั่วไปๆ เราก็สามารถใช้หลัก ใจเขาใจเรา คือ การคิดก่อนถาม และ ฝึกเป็นคนเข้าหา มีมารยาท รู้จักการให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส และ เป็นนักฟังที่ดี รับรองได้ว่า เราก็จะจัดได้ว่า เป็นคนที่วางตัวเป็นคนหนึ่งทีเดียว
                12.พึ่งตนเองได้   " อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ " หมั่นฝึกตนช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
ก่อนจะร้องขอให้ผู้อื่นช่วย เพราะหากเราไม่ช่วยตนเองแล้วยากที่ใครจะมาช่วยเรา และจะเป็นการตัดโอกาสและความก้าวหน้าของตนเองอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ได้พัฒนาความสามารถอย่างเต็มที่ ดังนั้นจงช่วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถทำได้ด้วยตนเอง

                13.กำจัดความกลัว  ความกลัวเป็นอุปสรรค์ต่อความสำเร็จและทำให้ไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีจะผิดพลาดแต่คนที่ไม่เคยทำอะไรเลย ก็จะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ส่วนคนที่ทำงาน โอกาสสำเร็จและผิดพลาดก็ย่อมจะมีบ้างเป็นธรรมดาแต่หากทำดีที่สุดแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับและไม่กลัวที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น พึงคิดเสมอว่า " ทำไม่ดี ไม่มี มีแต่ยังไม่ได้ทำหรือยังทำดีไม่มากพอ " การลงมือทำเป็นเรื่องสำคัญ อย่าได้กลัวที่จะลงมือทำ
14.การมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน เมื่อจะทำสิ่งใดให้ใส่ใจเอาใจจดจ่อกับสิ่งที่ทำ รวมพลังความคิดลงสู่การกระทำในขณะนั้นไม่ห่วงหน้า พะวงหลัง หรือยึดติดกับอดีต กังวลกับอนาคต แต่มุ่งใจให้เป็นหนึ่งเดียวกับเวลาปัจจุบัน ทำเรื่องใดก็สนใจทุ่มเท มีสมาธิและจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้นดังที่ว่า " ถอดหัวใจให้สิ่งที่ทำ
                15.ปลูกฝังอุปนิสัยที่ดี  การที่เราจะมีการเชื่อมั่นศรัทธาในตนเองได้ ก็ต้องฝึกฝน เสริมสร้างและสั่งสมนิสัยที่ดี เช่น เป็นผู้มีความหวังเสมอ พรุ่งนี้ยังมีวันใหม่ให้ก้าวเดิน ความไม่กลัวต่อความลำบาก จิตใจเข้มแข็ง ต่อสู้ กล้าหาญ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอ ไม่ประมาท เกิดเป็นคนไม่ควรขลาดกลัว จงเก่งกาจ กล้าหาญชาญชัย

ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา

อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
                ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University