วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การกำหนดความต้องการและการจัดทำอัตราวัสดุ

การกำหนดความต้องการและการจัดทำอัตราวัสดุ
การกำหนดความต้องการ
                การกำหนดความต้องการพัสดุนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาปริมาณพัสดุทั้งหมดที่จะต้องใช้ในระยะเวลา  1  ปีงบประมาณ โดยต้องตระหนักถึงกฎเกณฑ์ที่สำคัญ  คือผลของงานที่เกิดขึ้นจากการใช้เงินนั้น  ต้องเป็นไปตามเป้าหมายสำหรับภาครัฐบาลนั้นการวางแผนการใช้เงินนั้น  ซึ่งเรียกว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายนั้น ต้องกระทำล่วงหน้าเป็นเวลาเกือบ  2  ปี  ก่อนการใช้เงินจริง

                ความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดความต้องการกับการควบคุมการจัดพัสดุ
                ในการบริหารงานพัสดุระบบการควบคุมพัสดุ  เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการควบคุมพัสดุนั้น  การควบคุมแบ่งออกเป็น  2  เรื่อง  คือ 
                การควบคุมทางบัญชี  ( Stock  control )
                และการควบคุมการจัดสนอง ( Supply  control )
ซึ่งการกำหนดความต้องการ คือ งานของการควบคุมการจัดสนอง โดยจัดให้มีปริมาณพัสดุเท่าที่จำเป็นมากหรือน้อยเกินไป

                ข้อมูลของการกำหนดความต้องการ
                เพื่อช่วยในการแก้ข้อผิดพลาดต่าง ๆ หรือเพื่อให้ผิดพลาดน้อยที่สุด  โดยปกติแผนแบ่งออกเป็น  3  ระยะ  คือ  แผนระยะยาว   แผนระยะปานกลาง  แผนระยะสั้น  แผนที่นำมาใช้ในการกำหนดความต้องการ  มักเป็นแผนระยะปานกลางและแผนระยะสั้น  เนื่องจากเป็นแผนที่มีการผิดพลาดน้อยที่สุด
วิธีควบคุมพัสดุทางบัญชีเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการเก็บข้อมูลต่างๆ สำหรับเป็นฐานในการประมาณการความต้องการพัสดุและงบประมาณ  ในการคำนวณวามต้องการพัสดุข้อมูลฐานนั้น  จะต้องอาศัยตัวเลขในบัตรบัญชีคุมพัสดุมากมาย  รวมทั้งสถิติต่างๆ

                ตัวเลขในบัตรบัญชีคุมพัสดุ  และสถิติต่างๆ
                                1. ยอดคงคลัง  คือ ยอดพัสดุที่เหลืออยู่ในวันที่คำนวณความต้องการพัสดุ  เพื่อนำมาหักออกจากความต้องการที่คำนวณไว้ได้
                                2. ยอดค้างรับ  คือ  จำนวนพัสดุที่ยังอยู่ในระหว่างมีการจัดหา  พัสดุจำนวนนี้จึงเหมือนเป็นยอดพัสดุที่ยังเหลืออยู่ซึ่งจะต้องนำมาหักออกจากความต้องการที่คิดได้
                                3. ยอดค้างจ่าย  คือ จำนวนพัสดุที่ไม่สามารถที่จะจ่ายออกไปได้ตามที่เกิดความต้องการจึงเป็นจำนวนที่จะต้องเอามาผูกพันกับความต้องการที่คิดได้
                                4. สถิติความต้องการ  ทั้งความต้องการประจำ  และความต้องการครั้งคราว  เพื่อนำมาคิดหาอัตราการใช้สิ้นเปลือง
                                5. สถิติรายจ่ายจริง  เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาความต้องการที่เป็นจริงอย่างมีเหตุมีผล
                                6. อัตราต่าง  ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะในการจัดงานพัสดุเริ่มแรกนั้นไม่สามารถจะหาข้อมูลหรือสถิติอะไรได้  จึงจำเป็นต้องกำหนดความต้องการพัสดุต่าง ๆ ไว้ในอัตราในรูปแบบต่าง ๆ
                                 6.1  อัตราครุภัณฑ์  จะเป็นตัวกำหนดความต้องการเริ่มแรกตามความจำเป็นต่อภารกิจ  และหน้าที่ของหน่วยงานนั้น
                                6.2  อัตราวัสดุ ก็เช่นเดียวกับอัตราครุภัณฑ์แต่จะทำแยกจากอัตราครุภัณฑ์  เพราะจำนวนความต้องการวัสดุไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้
                                6.3  อัตราสิ้นส่วนซ่อม หน่วยงานที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาพัสดุ  จำเป็นต้องมีชิ้นส่วนซ่อมไว้ใช้งานขั้นต้น

                จุดประสงค์หลักของระบบ  MRP (Material requirement planning)
                                1. ทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ใช้อย่างเพียงพอ
                                2. ทำให้มีการคงไว้  ซึ่งระดับการคงคลังในปริมาณที่ต่ำสุดตลอดเวลา
                                3. เพื่อการวางแผนการผลิต  ตารางการจัดส่งและการจัดซื้อ

วิธีการกำหนดความต้องการพัสดุ
1.             วิธีการกำหนดความต้องการครุภัณฑ์
                                1.1 ความต้องการขั้นต้นการกำหนดความต้องการขั้นต้นของครุภัณฑ์จะต้องเน้นแต่ละรายการไป
                                                1.1.1 การจัดหน่วยงานให้เป็นมาตรฐาน  ตัวอย่าง เช่น  โรงพยาบาลชุมชนมีการจัดหน่วยงานเป็นมาตรฐานไว้ 3 แบบ คือ  โรงพยาบาลขนาด 10 เตียง 30 เตียง และ 60 เตียง  เป็นต้น
                                                1.1.2 การกำหนดมาตรฐานของพัสดุ  ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนรายการครุภัณฑ์ให้น้อยลง  เพื่อเป็นการประหยัดเวลา  และง่ายในการจัดงานด้านอื่นด้วย  เช่น  เตียงคนไข้  มีมาตรฐาน 2 แบบ ได้แก่  เตียงเหล็กสปริงเอนได้  กับเตียงเหล็กธรรมดา  เป็นต้น

                สูตรการคำนวณความต้องการขั้นต้น
                                ความต้องการขั้นต้น  =  จำนวนหน่วยงาน *  อัตราครุภัณฑ์
                ตัวอย่าง  โรงงานแห่งหนึ่งมีเครื่องเชื่อมใช้อยู่ทั้งสิ้น  300  เครื่อง  จะขยายบริษัทโดยเพิ่มแผนกใหม่อีก  4  แผนก  เป็นแผนกที่มีอัตราครุภัณฑ์  เครื่องเชื่อม  แผนกละ 5  เครื่อง  สามารถคำนวณความต้องการขั้นต้นได้ดังนี้
                ความต้องการขั้นต้นของแผนกเดิม                 = 300  เครื่อง
                ความต้องการขั้นต้นของแผนกใหม่                = 4 (แผนก) * 5 (เครื่องเชื่อม)
                                                                                                = 20  เครื่อง
                รวมความต้องการขั้นต้น                                    = 300 + 20  เครื่อง
                                                                                                = 320  เครื่อง

1.2      ความต้องการทดแทน
                                                ความต้องการทดแทนเป็นการคิดจำนวนครุภัณฑ์ที่จะมาชดเชยกับจำนวนครุภัณฑ์ที่เคยได้รับไปแล้ว  แต่หมดสภาพการใช้งานอันเนื่องมาจากการชำรุดสึกหรอ  จากการใช้งาน  การสูญหาย  การถูกทำลาย  หรือจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม คำนวณหา  ปัจจัยทดแทน  ซึ่งหมายถึงค่าทศนิยมของความสิ้นเปลืองต่อช่วงเวลาหนึ่ง  การคิดค่าของปัจจัยทดแทนได้ด้วยการเอาจำนวนความต้องการทดแทนที่แล้วมาหารด้วย  จำนวนครุภัณฑ์ที่ใช้อยู่ช่วงเวลานั้นแล้วหารด้วยระยะเวลา

1.3      ความต้องการสำรอง
                                                การหาความต้องการสำรอง  คือ  การคำนวณจำนวนครุภัณฑ์ที่เผื่อเอาไว้ใช้ในกรณีจำเป็นและแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่อไปนี้
                                                                1 ปัจจัยทดแทน 
                                                                2 ระยะเวลาในการจัดหาครุภัณฑ์ 
                                                                3 สภาพและเหตุการณ์ในการปฏิบัติงานนั้น ๆ มีผลบังคับให้ผิดพลาด
                สูตรของการคำนวณความต้องการสำรอง
                                ความต้องการสำรอง           =   จำนวนความต้องการขั้นต้น * อัตราสำรอง
              สมมุติว่าโรงงานแห่งนี้มีอัตราสำรองเท่ากับ 0.1 ดังนั้นความต้องสำรองจะเป็นดังนี้
                             
                ความต้องการสำรอง                           =   320 * 0.05
                                                                                =   16  เครื่อง
               
                ความต้องการชดเชยเวลาการจัดหา
                                การคำนวณหาจำนวนความต้องการครุภัณฑ์ที่จะต้องมาชดเชยกับจำนวนสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาการจัดหา เช่น  การจัดหาครุภัณฑ์ทั่วไป ใช้เวลาการจัดหา  6  เดือน ครุภัณฑ์ที่มีความสำคัญใช้เวลาการจัดหา  1  ปี  ระยะเวลาในการจัดหาจะต้องแปลงเป็นค่าทศนิยมของปี   ดังนั้น  ระยะเวลาการจัดหา  6  เดือน  เท่ากับ  0.5  ระยะเวลาจัดหา  1  ปี  เท่ากับ  1.0 

                สูตรการคำนวณความต้องการชดเชยเวลาในการจัดหา
                                                                ความต้องการชดเชยเวลาจัดหา  =   จำนวนความต้องการขั้นต้น
                                                                                * ปัจจัยทดแทนต่อปี  *  ระยะเวลาในการจัดหา
                ตัวอย่าง  โรงงานแห่งหนึ่ง  มีเครื่องเชื่อมอยู่ในครอบครองทั้งสิ้น  300  เครื่อง  ปัจจัยทดแทนเท่ากับ  0.04  ระยะเวลาในการจัดหาเท่ากับ  3  เดือน  จะได้รับค่าความต้องการชดเชย  คือ
  ความต้องการชดเชยเวลาจัดหา                                     =   300 * 0.04 * 0.25
                                                                                                =   3  เครื่อง   (คอมพิวเตอร์)

                ความต้องการพิเศษ
                                จำนวนที่พัสดุตามโครงการหรือหน้าที่ ต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษนอกเหนือภารกิจประจำ
                                ดังนั้น  อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีความต้องการครุภัณฑ์ประเภทนี้เกิดขึ้น  เมื่อเสร็จโครงการพิเศษหรือหน้าที่พิเศษ  ครุภัณฑ์เหล่านี้จะต้องนำส่งคืนเพื่อนำไปแจกจ่ายใหม่ต่อไป


                สูตรการคำนวณความต้องการพิเศษ
                ความต้องการพิเศษ     =  จำนวนหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติงานเป็นพิเศษ *                                                                                                            จำนวนครุภัณฑ์ที่อนุมัติต่อหน่วยงานนั้น
                ตัวอย่าง  โรงงานแห่งหนึ่ง  จัดแผนกที่ต้องปฏิบัติภารกิจพิเศษ  จำนวน  5  แผนกโดยใช้เครื่องเชื่อมเป็นพิเศษอีกแผนกละ  2  เครื่อง  จะได้ค่าความต้องการพิเศษ  คือ
                                                ความต้องการพิเศษ             =  5 * 2
                                                                                     = 10  เครื่อง
                ความต้องการรวมและความต้องการสุทธิ
                                ความต้องการรวม คือ ผลรวมของจำนวนความต้องการครุภัณฑ์ทุกประเภท สามารถหาได้จากสูตร
                                ความต้องการรวม   =  ความต้องการขั้นต้น + ทดแทน + สำรอง     
                                               + จำนวนชดเชยของการจัดหา +  พิเศษ
             จากค่าความต้องการทุกประเภทที่คำนวณได้ข้างต้น  จะได้ค่าความต้องการรวม
                                                                    =  320 + 13  + 16  + 3  + 10
                                                                   =  362 เครื่อง
                ความต้องการสุทธิ  คือ จำนวนความต้องการจริงที่เกิดขึ้นในอนาคตหรือในช่วงปีงบประมาณต่อไป  ดังสูตร
                                                ความต้องการสุทธิ  =  ความต้องการรวม    ยอดรวมครุภัณฑ์
                ยอดรวมครุภัณฑ์เท่ากับครุภัณฑ์ในปัจจุบันกับครุภัณฑ์ที่มีอยู่ในระหว่างการจัดหา  ดังสูตร
                                                ยอดรวมครุภัณฑ์ =  คงคลัง   ค้างรับ +  ค้างจ่าย

สมมุติว่าบริษัทแห่งนี้ไม่มียอดค้างรับและค้างจ่าย
                กรณียอดรวมครุภัณฑ์  =  300 – 0 + 0  =  300   ดังนั้นความต้องการสุทธิ  คือ
                ความต้องการสุทธิ               =  ความต้องการรวม   ยอดรวมครุภัณฑ์
                                                                =  362    300
                                                                =  62  เครื่อง
                            เครื่องเชื่อมจำนวน  62  เครื่องนี้คือ  ประมาณการความต้องการของเครื่องเชื่อมในการที่จะปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้
                เมื่อได้ความต้องการแล้วจะสามารถประมาณการรายจ่ายสำหรับครุภัณฑ์เฉพาะรายการนี้ได้โดย
                                งบประมาณ         =   ความต้องการสุทธิ * ราคาต่อหน่วย
                                                สมมติว่าราคาเครื่องเชื่อมเครื่องละ 12,000 บาท
                                                               =   62 * 12,000
                                                                =   774,000  บาท

                วิธีการกำหนดความต้องการวัสดุ
                                วัตถุประสงค์ในการกำหนดหรือคำนวณความต้องการวัสดุ  ก็เพื่อต้องการทราบว่าควรจะมีรายการวัสดุอะไรบ้าง  จำนวนในแต่ละรายการเท่าใดที่ควรจะสะสมไว้ในคงคลังเพื่อแจกจ่ายให้หน่วยงานภายในองค์การใช้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้รายการวัสดุส่วนมากเป็นพัสดุประเภทรองย่อยและมีมูลค่าต่ำ   ดังนั้น  การพิจารณาการวิเคราะห์และการคิดคำนวณความต้องการก็ไม่พิถีพิถัน หรือต้องการรายละเอียดมากนัก  เป็นการประมาณอย่างหยาบ ๆ เท่านั้น  ส่วนการคำนวณหาความต้องการวัสดุที่ค่าความต้องการไม่คงที่  คิดตามข้อมูลความต้องการที่ผ่านมา

                วิธีคำนวณความต้องการวัสดุค่าความต้องการคงที่หรือวิธีการคิดตามอัตราอนุมัติ
                ตัวอย่าง  โรงงานแห่งหนึ่งมีการจัดแผนกเป็นมาตรฐาน  3  แบบ  คือ  แผนกแบบ  . จำนวน  10  แผนก  แผนกแบบ ข. จำนวน  20  แผนก  แผนกแบบ ค.  จำนวน  30  แผนก  และในปีงบประมาณต่อไปนี้มีการจัดตั้งแผนกแบบ  .  เพิ่มขึ้นอีก  2  แผนก
                        อัตราอนุมัติกำหนดให้แผนกต่าง ๆ มีน้ำมันเชื้อเพลิง  ดังนี้
                                             แผนกแบบ  .                    200   ลิตรต่อเดือน
                                             แผนกแบบ  .                    400   ลิตรต่อเดือน
                                             แผนกแบบ  .                    100   ลิตรต่อเดือน
                           ราคาน้ำมันหล่อลื่น                 30   บาทต่อถัง
                                              เวลาที่ใช้ในการจัดหา          2   เดือน
           โรงงานนี้มีโครงการที่จะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โดยให้แผนก  . เป็นผู้รับผิดชอบ  และต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อโครงการนี้  50  ลิตร  คลังพัสดุจะต้องมีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองไว้ร้อยละ  25  ยอดคงคลังในวันที่คิดความต้องการ  จำนวน  1,000  ลิตร

                จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าอัตราอนุมัติกำหนดระยะเวลาให้เป็นเดือนทั้งสิ้น  ดังนั้นก่อนแทนค่าอัตราอนุมัติลงในสูตรการหาความต้องการประเภทใดก็ตาม  จำเป็นต้องคูณด้วย  12 (เดือน)  เพื่อให้ได้อัตราพัสดุต่อปี  เพื่อประโยชน์ในการจัดทำงบประมาณ
                จากสูตรคำนวณหาความต้องการขั้นต้นได้ดังนี้
                                                ความต้องการขั้นต้น           =   จำนวนหน่วยงาน * อัตราวัสดุ
                                                ความต้องการขั้นต้น           =   2 * (100 * 12)
                                                                                                =   2,400  ลิตร

                การกำหนดความต้องการทดแทน
                การคิดจำนวนวัสดุที่จะมาชดเชยกับจำนวนที่เคยได้รับแล้ว  แต่ได้ใช้สิ้นเปลืองหรือเปลี่ยนสภาพไปหมดแล้ว  การคำนวณความต้องการทดแทนจึงใช้ข้อมูลเดิมของหน่วยงานเดิมทั้งหมด
                ความต้องการทดแทน                         =   แผนก * อัตราอนุมัติ (ทั้งปี)
                แผนก  .                                              =   10 * (200 *12)
                                                                                =   24,000  ลิตร
                แผนก  .                                              =   20 * (400 *12)
                                                                                =   96,000    ลิตร
                แผนก  .                                              =    30 * (100 *12)
                                                                                =    36,000    ลิตร
                     รวมความต้องการทดแทน         =    24,000 + 96,000 + 36,000
                                                                                =    156,000  ลิตร

                การกำหนดความต้องการสำรอง
                การคำนวณจำนวนวัสดุเพื่อเอาไว้ใช้ในกรณีจำเป็นที่มีความต้องการเกิดขึ้นมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน  จากตัวอย่างกำหนดให้ต้องมีน้ำมันสำรองไว้ร้อยละ 25  จึงคำนวณได้ตามสูตร
                ความต้องการสำรอง           =  (ความต้องการขั้นต้น  +  ความต้องการทดแทน)
                                                                        * อัตราสำรอง
                                                              =   (2,400 + 156,000) * 0.25
                                                                =   39,600  ลิตร
                ความต้องการพิเศษ
                จำนวนวัสดุตามโครงการหรือหน้าที่ต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
 จากตัวอย่าง แผนก ก. เป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกอบรม
                ความต้องการพิเศษ                            =  หน่วยงานตามโครงการ  *  อัตราอนุมัติ
                                                                               =  10 * 200
                                                                             =  2,000  ลิตร

                ความต้องการรวมและความต้องการสุทธิ
                ความต้องการรวม  คือ  ผลรวมของจำนวนความต้องการทุกประเภท
                ความต้องการรวม  =   2,400 + 156,000 + 39,600 + 26,453 + 2,000
                                                        =   226,453  ลิตร
                ความต้องการสุทธิ คือ  จำนวนความต้องการจริงที่เกิดขึ้นในอนาคต
                ความต้องการสุทธิ  =  ความต้องการรวม คงคลัง ค้างรับ + ค้างจ่าย
                                                    =   226,453 – 1,000 –  0 + 0
                                                    =   225,453  ลิตร
                                 งบประมาณ =   ความต้องการสุทธิ * ราคาหน่วยละ
                                                    =   225,453  * 30
                                                    =   6,763,590   บาท

                วิธีการคำนวณความต้องการวัสดุด้วยการคิดตามข้อมูลความต้องการที่ผ่านมา
เป็นวิธีที่ไม่ใช่อัตราอนุมัติเฉพาะการคำนวณหาความต้องการทดแทนเท่านั้น  สำหรับความต้องการอื่น ๆ ยังคงคิดจากอัตราอนุมัติ   ความต้องการทดแทนคำนวณได้จากการหาค่าเฉลี่ยของความต้องการที่ผ่านมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 
                                เช่น  ปี 2547 = 250,000   ปี 2548 = 240,000 ปี 2549 = 300,000 
                                                 ปี 2550  =  340,000   ปี 2551  =  260,000
                                ความต้องการทดแทน         =   250,000 + 240,000 + 300,000 + 340,000 + 260,000
                                                                          =  278,000  ลิตร

                วิธีกำหนดความต้องการชิ้นส่วนซ่อม
                การกำหนดความต้องการชิ้นส่วนซ่อมมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการคิดความต้องการครุภัณฑ์ทั้งนี้เนื่องจากการชิ้นส่วนซ่อมมีจำนวนมากมายหลายรายการ   การกำหนดอัตราให้แน่นอนทำได้ยาก  เพราะการใช้งานซึ่งเป็นส่วนทำให้เกิดการสึกหรอนั้นต่างกัน  ดังนั้น  จึงต้องใช้การประมาณการเป็นส่วนใหญ่  ตัวเลขประมาณการต่าง ๆ จะต้องใช้สถิติ  ทั้งสถิติจำนวนความต้องการและจำนวนการจ่าย  ดังนั้น  การรวบรวมข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการวางแผนกำหนดความต้องการชิ้นส่วนซ่อม

                การหาความต้องการทั้งปี
                1 กำหนดจุดสั่งเพิ่มเติม (reorder  point หรือ RP) จุดสั่งเพิ่มเติม หมายถึง  ปริมาณพัสดุคงเหลือที่มีอยู่ซึ่งเป็นเวลาที่สมควรจะกระทำการสั่งเพิ่มเติม  หรือหมายถึงผลรวมของระดับปลอดภัยและเวลาในสั่งและส่งพัสดุ 
                                  (RP = SL + OST)
                                1.1ระดับปลอดภัย  (safety level หรือ SL)  หมายถึง  ปริมาณพัสดุที่คิดเพิ่มเติมจากระดับปฏิบัติการ  เพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  พัสดุที่ใช้วิธีการเพิ่มเติมวิธีนี้คือ  พัสดุที่มีอัตราการใช้สิ้นเปลืองที่ไม่คงที่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจว่าควรมีพัสดุสำรองไว้ใช้เป็นเวลากี่วัน  เช่น  จะให้มีพัสดุสำรองพอใช้ได้อีก  10  วัน  ดังนั้นระดับปลอดภัย  ก็คือ  10  วัน
                                1.2 ระดับปฏิบัติการ (operating level หรือ OL) หมายถึง  ปริมาณพัสดุที่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น  องค์การหนึ่งมีนโยบายจะต้องมีพัสดุในคงคลังเก็บให้พอจ่ายเป็นเวลา  2  เดือน  หรือ  60  วัน  ระดับปฏิบัติการก็คือ  60  วัน
                                1.3 เวลาในการสั่งและส่งพัสดุ  (order  and  shipped  time หรือ OST)  หมายถึงระยะเวลานับตั้งแต่ได้ทำการสั่งพัสดุจนถึงวันที่ได้รับพัสดุ เวลาในการสั่งการและส่งพัสดุนี้บางครั้งเรียกว่า  ระยะเวลารอคอย  (lead time) อาจกล่าวได้ว่าเวลาในการสั่งและส่งพัสดุก็คือจำนวนวันที่ใช้ในการจัดหานั่นเอง ส่วนใหญ่จะใช้ค่าถัวเฉลี่ยของเวลาที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ  สมมุติว่าที่เสียไปในการสั่งและส่งก็คือ  15 วัน หมายความว่านับตั้งแต่วันดำเนินการวิเคราะห์จำนวนเพื่อเพิ่มเติมพัสดุและเวลาที่ดำเนินการจัดหาจนถึงวันที่ได้รับพัสดุนั้นเป็นเวลาทั้งสิ้น  15  วัน

                2 หาอัตราความสิ้นเปลือง หมายถึง ปริมาณพัสดุซึ่งประมาณว่าจะต้องใช้สิ้นเปลืองในหนึ่งวัน  หรือหมายถึง  ค่าถัวเฉลี่ยต่อวันของความต้องการทดแทนในช่วงเวลาการควบคุม
 อัตราความสิ้นเปลืองคำนวณได้จาก  เก็บตัวเลขความต้องการทดแทนทั้งสิ้นในช่วงระยะเวลาควบคุมที่แล้วมาให้ได้   แล้วหาความต้องการเฉลี่ยหรือทุกครั้งที่พัสดุลดลงมาถึงจุดสั่งเพิ่มเติม  ซึ่งต้องหาค่าเฉลี่ยออกมาเป็นวัน  ซึ่งเรียกว่า  วันจัดสนอง
                                2.1 ช่วงเวลาการควบคุม  (control  period) หมายถึง ระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นจำนวนวันเพื่อใช้เป็นมูลฐานสำหรับการวบรวมความต้องการ  เพื่อพิจารณากำหนดการสะสมพัสดุในอนาคต  ซึ่งโดยปกติจะเป็นเวลาไม่น้อยกว่า  2  เท่าของเกณฑ์การสั่ง
                                2.2 การสั่ง (requisitioning  objective  หรือ RO)  หมายถึง  ปริมาณสูงสุดของพัสดุที่สามารถจะสั่งเพื่อสนับสนุนในการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งหมายถึงผลรวมของระดับปฏิบัติการกับจุดสั่งเพิ่มเติม

                3. หาระดับพัสดุ ซึ่งหมายถึง ปริมาณพัสดุที่สามารถจะสะสมไว้เพื่อปฏิบัติการในด้านการจัดสนองให้สมบูรณ์และต่อเนื่อง  โดยจะต้องพิจารณาและวิเคราะห์ความต้องการและอัตราความสิ้นเปลืองว่ามีความถูกต้องสมควรเพียงใดด้วย

                4. คำนวณความต้องการทั้งปี  โดยที่ระดับพัสดุที่คำนวณได้ดังสูตรข้างต้นมาจากเกณฑ์สั่งซึ่งเป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น  การคำนวณหาความต้องการทั้งปีจึงต้องคำนึงถึงสัดส่วนของเกณฑ์สั่งต่อระยะเวลา  1  ปีด้วย
                5.หาความต้องการพิเศษ
                6. คำนวณหาความต้องการ  ในการจะคำนวณหาประมาณการงบประมาณนั้นจะต้องคำนวณหาความต้องการสุทธิเสียก่อนโดยต้องรู้ยอดคงคลัง  ค้างรับและค้างจ่ายด้วย 

อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
                ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น