การเก็บรักษาวัสดุ
การเก็บรักษาวัสดุ (Storage or Warehoursing)
การนำวัสดุไปเก็บรักษาในคลังวัสดุ เพื่อรอการนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคต โดยต้องมีการวางแผนการรับ การดูแลรักษา
ตลอดจนการจัดส่งวัสดุออกไปถึงผู้ใช้
ประเภทของการเก็บรักษาวัสดุ
1. การเก็บรักษาภายในอาคาร
2.
การเก็บรักษาภายนอกอาคาร
หรือการเก็บรักษาวัสดุกลางแจ้ง
1.
การเก็บรักษาภายในอาคาร (Covered Storage
Space)
เป็นการนำวัสดุเข้าเก็บรักษาไว้ใน คลังวัสดุ
คลังวัสดุแบ่งออกเป็น 2
ชนิด คือ
1. คลังทั่วไป (General Purpose
Warehouse)
2.
คลังพิเศษ (Special Purpose
Warehouse
คลังทั่วไป
คลังทั่วไปใช้เก็บวัสดุอเนกประสงค์
เป็นคลังชั้นเดียวที่มีพื้นที่อยู่ในระดับเดียวกับพื้นรถยนต์บรรทุกและพื้นตู้รถไฟ บางแห่งจะสร้างโดยมีโครงมีโครงยื่นคล้ายชายคา (canopies) เพื่อรองรับหรือกำบังวัสดุที่รอการขนย้าย
นอกจากนี้แล้วในคลังสินค้าบางแห่งยังมีอาจมีเครื่องปรับอุณหภูมิ แต่บางแห่งอาจไม่มี
คลังพิเศษ
เป็นคลังที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บรักษาพัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ
และต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนย้ายหรือเก็บรักษา มีหลายชนิด ได้แก่
1 คลังเก็บเย็น (refrigerated warehouse) เป็นคลังที่ใช้เก็บของที่เน่าเสียได้ง่าย
มีลักษณะคล้ายคลังทั่วไปที่สามารถขนถ่ายวัสดุจากรถยนต์หรือรถไฟเข้าสู่คลังได้
2 คลังเก็บวัสดุไวไฟ (flammable storage warehouse) เป็นคลังที่สร้างด้วยวัสดุทนไฟ
ซึ่งผนังจะมีอัตราต้านไฟถึง 4 ชั่วโมง
การใช้วัสดุทนไฟสร้างเป็นคลังวัสดุ มีการควบคุมโดยอัตโนมัติของระบบเสียงเตือนภัยและน้ำที่จะดับไฟซึ่งได้มาจากแหล่งน้ำที่เตรียมไว้ตามโครงสร้างการป้องกันไฟ
สิ่งของหรือพัสดุที่ใช้เก็บในคลังเป็นวัสดุที่ติดไฟง่ายและสิ่งที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง
เช่น แก๊ส น้ำมัน สี
3.คลังเก็บกระสุนและวัตถุระเบิดบนดิน (above-ground magazine) ใช้เก็บกระสุนและวัตถุระเบิด
โครงสร้างของคลังประกอบด้วยหลังคา และผนัง 4 ด้าน
สร้างด้วยวัสดุทนไฟ และมีเครื่องระบายอากาศอยู่ส่วนบนของอาหารที่มีหลังคาเป็นโลหะ
ช่วยให้มีการระบายอากาศดีเพื่อลดอันตรายของแรงระเบิด
คลังเก็บกระสุนและวัตถุระเบิดบนดินจะสร้างไว้โดยตั้งกระจายห่าง ๆ กันไป เพื่อลดการถูกทำลาย
4.คลังอิ๊กลู
หรือคลังเก็บกระสุนและวัตถุระเบิดเสริมดิน (igloo or earth covered
magazine) ใช้สำหรับเก็บกระสุนและวัตถุระเบิดแรงสูง
โดยทั่วไปสร้างด้วยคอนกรีตมีหลังคาโค้งปกคลุมด้วยดิน
ลักษณะของหลังคาที่โค้งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ลดความเสียหายจากการที่จะเกิดระเบิดขยายออกด้านข้างและมีผลต่อสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง
ภายในคลังจะไม่ร้อนเพราะลักษณะของคลังต้องมีที่ระบายอากาศอย่างดี
5.คลังควบคุมความชื้น (controlled
humidity warehouse หรือ CH) เป็นคลังเก็บพัสดุที่มีการติดเครื่องควบคุมความชื้น
6 คลังแบบถังแห้ง (dry
tank) เป็นคลังที่มีลักษณะเป็นถังสร้างด้วยเหล็กกล้าพื้นคอนกรีตเป็นคลังที่ถูกปิดผนึก
โดยมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ตามกระบวนการที่ต้องทำ คือ
หลังจากนำวัสดุเข้าเก็บในคลังแล้วจะสูบอากาศออกและอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปแทนที่
คลังแบบถังแห้งใช้เก็บวัสดุที่ต้องการเก็บในระยะยาว
ซึ่งหมายถึงพัสดุที่เก็บรักษาจะมีความถี่ในการนำมาใช้น้อย
จึงต้องการการเก็บรักษาเป็นเวลานานนับเป็นปี
7.คลังโถงหรือเพิง (sheds) เป็นคลังที่ใช้เก็บวัสดุที่ต้องการระบายอากาศอย่างมาก
หรือพัสดุประเภทที่ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศไม่จำเป็นต้องให้การดูแลมาก
8.คลังผ่าน (transit sheds) เป็นที่พักชั่วคราวของพัสดุที่ต้องการขนขึ้นหรือลงเรือ
ซึ่งคลังจะช่วยป้องกันความเสียหายหรือระวังรักษาจากสภาพธรรมชาติให้แก่วัสดุนั่นเอง
2.การเก็บรักษาภายนอกอาคารหรือการเก็บรักษาวัสดุกลางแจ้ง (open storage space)
พื้นที่เก็บรักษากลางแจ้งที่ปรับปรุงแล้ว (open improved storage space)
เป็นพื้นที่ที่ปรับและทำให้ผิวหน้าเรียบด้วยคอนกรีต
น้ำมันดิน ยางมะตอย หินบดหรือกรวด หรือวัสดุอื่น ๆ
ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่เก็บรักษาวัสดุที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศตามธรรมชาติ
หน้าที่ของคลังวัสดุในการเก็บรักษาวัสดุ
หน้าที่หลัก (Main Functions) มี 10 ประการ
ดังต่อไปนี้
1. การรับวัสดุ
(Receiving)
2. การตรวจพิสูจน์
(Identifying)
3. การตรวจสภาพ
(Inspecting)
4. การคัดแยกประเภท (Classifying)
5. การเก็บรักษา (Storing)
6. การป้องกันรักษา (Preserving)
7. การตรวจนับสอบบัญชี (Inventorying)
8. การเลือกจ่าย
(Selecting)
(ก) วิธีเลือกจ่ายตามลำดับขั้น (Progressive
Method)
(ข) วิธีเลือกจ่ายพร้อม
ๆ กัน (Simultaneous Method)
9. การบรรจุหีบห่อ
(Packing)
10.
การทำเครื่องหมายหีบห่อ (Marking)
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดพื้นที่การเก็บรักษาวัสดุ
1.ปริมาณของวัสดุ
2. ลักษณะของพื้นที่เก็บรักษา
3.ความสามารถหรือประสิทธิภาพของเครื่องมือเก็บรักษา
4.ลักษณะของวัสดุที่เก็บรักษา
5.พื้นที่นอกเหนือจากที่ใช้ในการปฏิบัติการเก็บรักษา
5.1 พื้นที่ที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติการเก็บรักษา
(storage support areas) เป็นพื้นที่ที่จัดสรรเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานเก็บรักษา
5.2 ทางเดิน (aisles) ในคลังวัสดุย่อมต้องจัดทางเดินไว้เป็นทางหลักและทางขวางเพื่อให้สามารถเข้าถึงที่ตั้งของวัสดุได้โดยสะดวก
5.3 พื้นที่สูญเปล่า (structural
losses) เป็นพื้นที่ซึ่งมิได้ใช้ประโยชน์ในการจัดวางพัสดุที่ต้องเสียไปเปล่า
ๆ อันเนื่องมาจากลักษณะของอาคารหรือความจำเป็นอื่นบังคับให้ต้องสูญเสีย ได้แก่
ห้องสุขา ลิฟต์ เสา กำแพงกั้นไฟ
6.อัตราพื้นที่สุทธิเพื่อใช้ในการเก็บรักษา (percentage of net
storage space occupied)
6.1 ที่หักมุม (elbow
room)
6.2 สภาพของวัสดุ
การวางแผนและคำนวณพื้นที่การเก็บรักษาวัสดุ
A = พื้นที่ทั้งหมดสำหรับการปฏิบัติการเก็บรักษาวัสดุ
B = พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ในการเก็บรักษา
C = พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติการเก็บรักษา
พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ในการเก็บรักษา
B = พื้นที่ทั้งหมดที่ใช้ในการเก็บรักษา
X = พื้นที่สุทธิที่ใช้ในการเก็บรักษาวัสดุ
Y = พื้นที่ทางเดิน
Z = พื้นที่สูญเปล่า
พื้นที่สุทธิที่ใช้ในการเก็บรักษาวัสดุ
เป็นพื้นที่ที่จุใช้ประโยชน์เพื่อการเก็บรักษาหรือวางวัสดุได้จริง
ๆ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ที่จัดวางวัสดุแล้ว (net
occpied space) และพื้นที่ที่ยังไม่ได้วางวัสดุ (net vacant
space)
พื้นที่ทางเดิน (aisles) ประกอบด้วยทางเดินหลายประเภท
เช่น ทางเดินหลัก (main aisle) ทางเดินขวาง (cross
aisle) ทางเดินบุคคล (personnel access aisle) และทางกั้นไฟ (fire aisle)
พื้นที่สูญเปล่า (structural loss) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่ใช้ในการปฏิบัติการเก็บรักษา
แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้
เนื่องจากลักษณะโครงสร้างของอาคารหรือองค์ประกอบอื่นของคลังวัสดุ พื้นที่สูญเปล่า
ส่วนที่อยู่ในอาคารหรือคลังวัสดุ เช่น ห้องสุขา ลิฟต์ เสา ช่องบันได ช่องไอน้ำ
ผนังกั้นไฟ ส่วนที่อยู่กลางแจ้ง เช่น ร่องน้ำ รางรถไฟและพื้นที่ตามแนวข้างราง
แนวกั้นไฟ เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบการกำหนดตำแหน่งที่เก็บวัสดุ
1.หมายเลขแสดงตำแหน่งที่เก็บวัสดุ หรืออาจเรียกว่ารหัสแสดงตำแหน่งที่เก็บวัสดุ ประกอบด้วย
ตัวเลขทั้งหมดไม่เกิน 9 ตัว แบ่งออกเป็น 3
กลุ่ม ขีดคั่นด้วยเครื่องหมายแต่ละกลุ่มประกอบด้วยตัวเลข 3 ตัวหมายเลขในกลุ่มที่ 1 บอกอาคารและชั้นของอาคาร
กลุ่มที่ 2 บอกตอนและแถวที่ตั้งของวัสดุ กลุ่มที่ 3 บอกกองและชั้นของที่เก็บวัสดุในแต่ละกอง
2.บัตรบันทึกที่เก็บวัสดุ เป็นบัตรที่บันทึกเกี่ยวกับวัสดุแต่ละชนิดที่เจ้าหน้าที่จะต้องจัดทำขึ้นและเก็บไว้ที่สำนักงานในคลังวัสดุ
ซึ่งบัตรเหล่านี้ต้องการการควบคุม เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องผู้ใช้บริการ บอกถึง
หมายเลขวัสดุ ชื่อวัสดุ หน่วยนับ และตำแหน่งที่เก็บวัสดุ อาจบันทึกรายละเอียดอื่นเพิ่ม
เช่น สภาพวัสดุ วันที่ที่ผลิต หรือบรรจุ
แฟ้มบัตรบันทึกที่เก็บวัสดุ
บัตรวัสดุจำเป็นต้องเก็บให้เป็นระเบียบ
ควรเรียงลำดับตามหมายเลขวัสดุ เพื่อสะดวกในทางค้นหาบัตรวัสดุ
จึงจำเป็นต้องเก็บเข้าแฟ้มโดยแยกตามชนิดและประเภทของวัสดุที่ให้หมายเลขวัสดุ (stock
number) ไว้แล้ว บัตรวัสดุยังต้องการความถูกต้องเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือของตำแหน่งที่เก็บวัสดุ
รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่เก็บวัสดุ
1.อาคาร (building)
2.ชั้น (floor)
3.แถว (row)
3.1 แถวขวางหรือแถวสั้น (short
rows) คือพื้นที่แบ่งย่อยที่เป็นแนวทอดไปตามความกว้างของอาคาร
3.2 แถวยาว (long rows) คือพื้นที่แบ่งย่อยที่เป็นแนวทอดไปตามความยาวของอาคาร
4.
กอง และชั้นในกอง (stack and level numbers)
การจัดวางวัสดุ
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดวางพัสดุหรือจัดผังพื้นที่ที่ใช้ในการเก็บรักษา
มี 5 ประการ คือ
1. ประเภทของวัสดุ
2. ความถี่ของความต้องการวัสดุ
3. ขนาดของวัสดุ
4.คุณลักษณะของวัสดุ
4.1 วัสดุอันตราย (hazardous materials)
4.2 วัสดุล่อใจให้อยากได้ (sensitive materials)
4.3 วัสดุเน่าเสียง่าย (perishable materials)
5. ลักษณะและความจุของคลังเก็บรักษา
เครื่องมือขนยก
การยกขนเป็นการเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
หรือจากแหล่งปฏิบัติการแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยบรรลุเป้าหมายของการยกขน
อันได้แก่
1. การกำจัดการยกขนให้เหลือน้อยที่สุด
2. ลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายหรือยกขน
3.
เพิ่มความเร็วในกระบวนการ กำจัดความแออัดที่ต้องรอในบางจุด
ประสานงานในการดำเนินการ และบริการตามใบสั่งอย่างรวดเร็ว
4.
ลดความสูญเสีย การรอคอย
และการทำลายวัสดุอันเกิดจากการยกขนและเก็บรักษา
5.
ลดโอกาสที่จะทำให้พนักงานเก็บรักษาต้องบาดเจ็บอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
6.
หลีกเลี่ยงการเสียเวลาเนื่องจากการรอคอยของลูกค้าอันเป็นผลจากการแจกจ่ายวัสดุออกจากคลังล่าช้า
วิธีการยกขนวัสดุแบ่งออกเป็น 4 วิธีใหญ่ ๆ คือ
1.ใช้แรงคนยก (by hand)
2.ใช้ปั้นจั่นและเครื่องยก (overhead cranes and hoists) ใช้ในการยกของหนักหรืออยู่ในที่สูงสามารถเคลื่อนที่ให้เข้าถึงที่ตั้งวัสดุได้ทั้งทางเดินหลักและทางเดินขวาง
3. รถยกขน (fork trucks) ใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุเป็นหลักมีหลายชนิดแตกต่างกันและใช้งานเฉพาะได้ต่างกัน
4. รางเลื่อน (conveyor) ใช้ช่วยเคลื่อนย้ายวัสดุ มีหลายแบบเช่นเดียวกับรถยกขนมีทั้งชนิดที่มีกำลังในตัวเอง
และไม่มีกำลังในตัวเองหรือเป็นรางเลื่อนชนิดใช้แรงถ่วง
เครื่องมือยกขนที่ใช้ในการปฏิบัติการเก็บรักษาวัสดุ
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. เครื่องมือยกขนชนิดที่มีกำลังในตัว (powered materials handling equipment)
ได้แก่ รถยกขน รถเทียบชาน
รถปั้นจั่นประจำคลัง รถก้ามปู รถยกกระบะ รถลากจูง และรางเลื่อนชนิดสายพาน
2.เครื่องมือยกขนชนิดที่ไม่มีกำลังในตัวเอง (non-powered materials handling equipment) ได้แก่
รถพ่วง รถเข็น แผ่นรองวัสดุติดล้อและรางเลื่อนใช้แรงถ่วง
อุปกรณ์ช่วยในการเก็บรักษาวัสดุ
1.กระบะ (pallet)
1.1 กระบะ 2
ทาง
1.2 กระบะ 4
ทาง
1.3 กระบะรูปหีบ
2.
ไม้รอง
3.
กรอบไม้
4.
แผ่นไม้กันกลิ้ง
5.
ชั้นวางวัสดุ
การรักษาความปลอดภัย
1. การป้องกันและระงับอัคคีภัย
1.1
การป้องกันอัคคีภัยการกำหนดวิธีการวางวัสดุ ได้แก่
1.1.1 การกำหนดช่องว่างระหว่างกองวัสดุความสูงของกองวัสดุ เช่น
เว้นช่องว่างระหว่างเพดานกับกองพัสดุจำพวกไวไฟห่างกันประมาณ 36 นิ้ว ความห่างจากผนังและระหว่างกองพัสดุข้างเคียงประมาณ 24 นิ้ว เป็นต้น
1.1.2 การตั้งกฎระเบียบของการสูบบุหรี่
เช่น กำหนดพื้นที่ให้หรือห้ามมิให้สูบบุหรี่
1.1.3 การฝึกอบรมวิธีการดับเพลิงยามฉุกเฉินแก่พนักงานคลังวัสดุ
1.1.4 การเตรียมอุปกรณ์การดับเพลิงไว้ให้พร้อมและเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในสภาพใช้การได้
1.2 การระงับอัคคีภัย
วิธีการดับเพลิงที่อาจเกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดเป็นสิ่งที่พนักงานต้องเรียนรู้ได้แก่
1.2.1 เพลิงประเภท ก. คือ เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น กระดาษไม้ ขยะมูลฝอย
เพลิงชนิดนี้ใช้น้ำหรือเครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาโซดาแอซิด (soda acid
extinguishers) ดังได้เป็นอย่างดี
1.2.2 เพลิงประเภท ข. คือ เพลิงที่เกิดจากน้ำมันแก๊สโซลีน
น้ำมันไขข้น สีหรือของเหลวไวไฟอื่น ๆ ที่ไม่รวมตัวกับน้ำ
เพลิงชนิดนี้ต้องดับด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดฟอง (foam extinguishers)
1.2.3 เพลิงประเภท ค. คือ เพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าหรือเครื่องมือไฟฟ้า
เพลิงชนิดนี้ต้องใช้เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide
extinguishers)
1.2.4 เพลิงประเภท ง. คือ เพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของโลหะที่ติดไฟได้ เช่นโพแทสเซียม เป็นต้น
เพลิงประเภทนี้มีน้อยและไม่ค่อยมีปัญหาในการดับเพลิง
2.การป้องกันการลักขโมย การตั้งกฎระเบียบ
ห้ามมิให้บุคคลที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรักษาเข้าออกจากคลังก่อนได้รับอนุญาต
ตลอดจนห้ามนำพาหนะ ส่วนตัวทุกชนิดเข้าไปในบริเวณคลังสินค้าโดยไม่มีข้อยกเว้น เขตการควบคุมจะเริ่มตั้งแต่ประตุ
บริเวณคลังซึ่งมีทางเข้า-ออกเพียงทางเดียว
บุคคลที่จะเข้ามาในบริเวณคลังสินค้าได้คือบุคคลที่รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
3. การป้องกันภัยธรรมชาติ
ทำได้โดยการปกคลุมวัสดุเหล่านั้นด้วยวัสดุที่ทนแดดแลฝน
ควรจัดเก็บหรือวางพัสดุในที่สูง และพื้นที่ควรมีการระบายน้ำที่ดี เป็นต้น
4. การควบคุมแมลงและสัตว์ (pest control)
การป้องกันอุบัติเหตุ
. 1. อุบัติเหตุที่มาจากบุคคล มีโอกาสเกิดขึ้นได้เนื่องจาก
1.1 พนักงานขาดการศึกษาในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
1.2 พนักงานขาดการฝึกอบรมในเรื่องการรักษาความปลอดภัย
1.3
สภาวะของร่างกายหรือจิตใจไม่ปกติ
พนักงานอาจทำงานหนัก เจ็บป่วย
2.อุบัติเหตุที่มาจากวัสดุ วัสดุบางชนิดมีอันตรายในตัวเองตามคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เช่น
วัตถุระเบิด วัสดุไวไฟ
3.อุบัติเหตุที่มาจากเครื่องมือ
3.1 การออกแบบ
3.2 การใช้งานและการเก็บรักษา
3.3
การบำรุงรักษา
4.อุบัติเหตุที่มาจากการปฏิบัติงาน
5.อุบัติเหตุที่มาจากแผนผังขององค์การ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุ
(cost of accidents
1.สูญเสียชั่วโมงการทำงาน (man-hours
lost)
2.วัตถุดิบหรือพัสดุถูกทำลายเสียหาย (material damaged or destroyed)
3.อุปกรณ์เสียหายหรือถูกทำลาย (equipment
damaged or destroyed)
4.สูญเสียขวัญ (morale
losses)
มาตรการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
1.การจัดทำแผนป้องกันอุบัติเหตุ (accident prevention program)
1.1 การวิเคราะห์การทำงาน (analysis
of operation)
1.2 การฝึกอบรมพนักงาน (training
of personnel)
1.3 การคัดเลือกตัวบุคคล (selection
of personnel)
1.4
การรายงาน (report)
2.การจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุ
3.กฎของการเก็บรักษาที่ปลอดภัย
3.1 กฎทั่วไป เช่น
วัสดุที่จะวางกองซ้อนจะต้องจัดใส่กระบะ วัสดุในกระบะที่มีจำนวนไม่มากนัก
จะต้องใส่ในกระบะก่อนจึงนำขึ้นเก็บบนชั้นวางของ
3.2 ขีดจำกัดความสามารถในการรับน้ำหนักของพื้นคลัง
3.3 การจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอในสถานที่ปฏิบัติงาน
3.4 ขนาดของกอง ความสูง ช่องว่าง
และระยะห่าง
3.5 การใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์เตือนภัย
การสำรวจวัสดุ
การสำรวจวัสดุ (inventory) เป็นการตรวจสอบเพื่อควบคุมปริมาณ
จึงครอบคลุมกิจกรรมการตรวจนับจำนวนวัสดุทางกายภาพ (physical count)
ที่เก็บรักษาอยู่ในคลัง
เพื่อเปรียบเทียบกับยอดดุลที่ปรากฏในบัญชีคุมพัสดุการตรวจสอบตำแหน่งที่เก็บวัสดุเพื่อหาข้อแตกต่างดังและปรับปรุงให้ถูกต้องตรงกันกับความเป็นจริง
1.ประเภทของการสำรวจวัสดุ
1.1 การสำรวจเบ็ดเสร็จ
เป็นการสำรวจและตรวจนับวัสดุทุกรายการที่มีอยู่ในครอบครอง
1.2 การสำรวจหมุนเวียน
การสำรวจหมุนเวียนเป็นการเน้นประเภทของวัสดุที่จะทำการสำรวจ
โดยกำหนดระยะเวลาที่จะต้องทำการสำรวจสำหรับวัสดุแต่ละประเภทว่าช่วงเวลาใดวัสดุประเภทใดควรจะต้องได้รับการสำรวจตรวจนับ ซึ่งการสำรวจอาจทำทุกรายการหรือเลือกทำเฉพาะรายการที่มีอัตราหมุนเวียนสูง
1.3 การสำรวจพิเศษ เป็นการสำรวจตามวัตถุประสงค์เฉพาะ (specific purpose)
ซึ่งจะเลือกเพียงรายการหนึ่งรายการใดที่ต้องการเท่านั้น
2.ระยะเวลาและกำหนดวันในการสำรวจ
2.1
ระยะเวลาในการสำรวจ โดยปกติแล้วการสำรวจวัสดุมักจะกระทำปีละครั้งแต่จะมีวัสดุบางประเภทที่มีการสำรวจมากกว่าหรือน้อยกว่าปีละครั้ง
2.2
การกำหนดวันตรวจวัสดุ การสำรวจมักกำหนดให้ใช้วันหยุด เช่น
วันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดเป็นวันตรวจนับเพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงาน
3.การฝึกฝนอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจวัสดุ การฝึกอบรมก่อนเริ่มปฏิบัติงานจริงเพื่อให้มีความรู้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสิ่งที่เขาเหล่านั้นได้เรียนรู้ ได้แก่
3.1
วัตถุประสงค์ของการสำรวจวัสดุ
3.2ขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมาย
3.3บทบาทและอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
3.4ความเข้าใจในระบบของงานวัสดุที่จะทำการสำรวจ อันได้แก่
หลักฐานต่าง ๆ ที่บอกถึง หมายเลขวัสดุ
รายการวัสดุ การตรวจพิสูจน์ การคัดแยกวัสดุตามสภาพ วิธีการตรวจนับและมาตรฐานการตรวจนับ
4.การเตรียมการเพื่อการสำรวจวัสดุ การเตรียมวัสดุให้อยู่ในสภาพที่สะดวกต่อการตรวจนับและการกำหนดวันสำรวจวัสดุ
5. การตรวจสภาพวัสดุเป็นการตรวจสอบเพื่อควบคุมคุณภาพให้เกิดความมั่นใจว่า วัสดุต่าง ๆ
ที่เก็บรักษาอยู่ในสภาพพร้อมที่จะแจกจ่ายและใช้งานได้ทันทีเสมอ
5.1
ชนิดหรือประเภทของการตรวจสภาพวัสดุ (types of inspections) การตรวจสภาพโดยวิธีการตรวจแบ่งออกได้เป็น 3
ประเภท คือ การตรวจสภาพด้วยสายตา (visual inspection )
การตรวจสภาพเฉพาะแห่ง
(spot inspection ) การตรวจสภาพอย่างเต็มที่ (full
inspection )
5.2
ความถี่ของการตรวจสภาพวัสดุ (frequency of inspection) ความถี่หรือระยะที่ควรทำ การตรวจสภาพวัสดุจะแตกต่างกันไปตามชนิดของวัสดุและออกแบบของการเก็บรักษา ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดความถี่ได้แก่
1.
วันที่ที่ได้รับการบรรจุหีบห่อไว้แต่เดิม
2.
แบบของการบรรจุหีบห่อ
3.
แบบของการเก็บรักษา
4.
สภาพของดินฟ้าอากาศ
5.
ความไว ต่อการเสื่อมเสีย
6.
ความไวต่อการถูกทำลายจากสัตว์และแมลง
7.
ลักษณะของการเสื่อมเสีย
8.
ประสบการณ์ในการตรวจสภาพของครั้งก่อน
ความรับผิดชอบในการรับวัสดุและเก็บรักษาคงคลัง
1.
ความรับผิดชอบโดยเฉพาะเจาะจง
2.
ความเกี่ยวพันกับต้นทุน
การรับวัสดุ
1.ยกลงและตรวจสอบวัสดุ ทำการยกวัสดุลงจากพาหนะแล้วตรวจสอบกับบัญชีของ
พาหนะ (Freight Bill) เพื่อให้แน่ใจว่ายกของลงครบ
เปิดดูหีบห่อและตรวจพัสดุ เสมียนรับพัสดุมีความรับผิดชอบ 3 ประการคือ
ทำการตรวจวัสดุที่รับมากับใบวัสดุหีบห่อของผู้ขายและเก็บสำเนาใบสั่งซื้อของบริษัทเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของวัสดุมีการพิสูจน์จำนวนวัสดุที่รับมาในทำนองเดียวกับประการแรกเสมียนตรวจสภาพทั่วไปของวีสดุเพื่อกำหนดว่ามีความเสียหายในระหว่างขนส่งหรือไม่
2.ทำรายงานรับวัสดุที่สมบูรณ์
ระบบเอกสารแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทบางบริษัทมี
รายการการรับวัสดุหลายส่วนเพื่อใช้ได้หลายความมุ่งหมาย
3.การจัดส่งวัสดุ สำหรับวัสดุที่ไม่มีการสต๊อกไว้
แผนกรับวัสดุรับผิดชอบในการจัดส่ง
โดยตรงหรือโดยหน่วยจัดส่งของบริษัท ในกรณีที่มีการเก็บสต๊อก
ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา
อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท
(MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical
College Chulalongkorn University
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น