วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดมาตรฐานวัสดุ


การจัดมาตรฐานวัสดุ

 

                ความหมายของการจัดมาตรฐาน

                มาตรฐาน"  หมายถึง  "สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับใช้เทียบกำหนด"  เช่น  มาตราชั่ง  ตวง  วัด

                การจัดมาตรฐานวัสดุมีความหมายอย่างกว้าง ๆ คือ  การกระทำขั้นสุดท้ายในการคัดแยก  เพื่อลดจำนวนวัสดุครุภัณฑ์ที่มีอยู่มากมายหลายชนิด  ให้คงเหลือเท่าที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นและยังครอบคลุมไปถึงกรรมวิธีและวิธีปฏิบัติในการผลิต  การจัดหา  เก็บรักษา  แจกจ่าย  และซ่อมบำรุง  บูรณะรักษาวัสดุครุภัณฑ์เหล่านั้นด้วย

 

                จุดมุ่งหมายในการจัดมาตรฐานวัสดุ

                                1.เพื่อลดจำนวนรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่มีลักษณะการใช้งานที่เหมือนๆ กันให้มีขนาด (size) ชนิด (kind) แบบ (type) ให้เหลือน้อยที่สุด

                                2.เพื่อเป็นการประหยัด ในด้านการเงิน กำลังเจ้าหน้าที่ เวลา ฯลฯ

                                3.เพื่อให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ หรือส่วนประกอบที่สามารถสับเปลี่ยนใช้แทนกันได้มากที่สุดในการบำรุงรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ให้ใช้งานได้นานที่สุด

                                4.เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ สะดวกและประหยัดเวลาในการติดต่อและซื้อขาย

                                5.เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจของส่วนรวม และความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน

 

                วิธีการจัดมาตรฐานวัสดุ

         การจัดมาตรฐานทางวิชากรรมหรือทางช่าง (Engineering Standard)

         การจัดทำมาตรฐานโดยวิธีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification)

 

 

 

                วิธีการจัดมาตรฐานวัสดุ

                                1.การจัดมาตรฐานทางวิชากรรมหรือทางช่าง (Engineering Standard)เป็นการจัดมาตรฐานวัสดุทางเทคนิค ที่สมาคมผู้ประกอบกิจการอุตสากรรมได้ร่วมกันจัดทำขึ้นเกี่ยวกับ การออกแบบ การใช้วัตถุดิบและกรรมวิธีในการผลิต ให้บรรดาโรงงานต่างๆ ได้ผลิตพัสดุสำเร็จรูปออกมาได้มาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานที่รู้จักกันแพร่หลายได้แก่

                - มาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ (Society of Automobile Engineers (SAE))

                - มาตรฐานของสมาคมทดสอบวัสดุแห่งอเมริกา (American Society for Testing Material (ASTM))

                - มาตรฐานการอุตสาหกรรมแห่งเยอรมนี (Deutsch Industrie Norm   (DIN)

 

                มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ในประเทศเรารู้จักและอ้างอิงใช้  ที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้

                                -Thai Industrial  Standard  คือ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทยเรียกตัวย่อว่า  TIS

                                -American Standard Testing and Materials คือ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา  เรียกตัวย่อว่า  ASTM

                                -International  Standard  Organization  คือ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนานาชาติ  เรียกตัวย่อว่า  ISO

                                -Japan  Industrial  Standard  คือ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น  เรียกตัวย่อว่า  JIS

                                -British Standard คือ คือ  มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษ  เรียกตัวย่อว่า  B.S

 

                มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม มี  3  ระบบด้วยกัน  คือ

                                1. ระบบอเมริกัน  ซึ่งนิยมใช้กัน  2  มาตรฐาน  คือ AISI (American  Iron  and  Steel  Insitute)

เป็นมาตรฐานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าของอเมริกา  SAE (Society  of  Automotive  Engineer)

เป็นมาตรฐานของ  สมาคมวิศวกรรมยานยนต์

                                2.ระบบเยอรมัน  DIN (Deutsch  Industrial  Norms) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของเยอรมัน      

                                3.ระบบญี่ปุ่น JIS  (Japanese  Industrial  Standards) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น

                . ระบบอเมริกัน

                                1.ระบบ  SAE  (Society  of  Automotive  Engineer)    การกำหนดมาตรฐานของระบบนี้  จะขึ้นต้นด้วย  SAE  แล้วตามด้วยตัวเลข4หรือ 5 หลัก

                ดัชนีตัวเลข  เป็นตัวบอกตัวเลขดังนี้ ตัวเลขหลักที่  1  เป็นตัว  บอกชนิดของเหล็ก  ซึ่งมีอยู่  9  ตัวเลข  คือ

                                เลข         1             หมายถึง                เหล็กกล้าคาร์บอน

                                เลข         2              หมายถึง                เหล็กกล้านิเกิล

                                เลข         3              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม

                                เลข         4              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมโมลิบดินัม

                                เลข         5              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมโครเมียม

                                เลข         6              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมโครเมียมและวานาเดียม

                                เลข         7              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมทังสเตน

                                เลข         8              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมนิเกิล   โครเมียมและโมลิบดินัม

                                เลข         9              หมายถึง                เหล็กกล้าประสมซิลิกอนและแมงกะนิส

                ตัวเลขหลักที่  2  เป็นตัว  บอกปริมาณของโลหะประสมชนิดแรก  ตามชนิดของเหล็ก  ยกเว้นเหล็กคาร์บอนซึ่งจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์  ตัวเลขหลักที่เหลือ  จะเป็นตัวเลขซึ่ง  บอกจำนวนเปอร์เซ็นต์ของคาร์บอน

                                มี   3   หลัก   ในกรณีที่ตัวเลขทั้งหมดมี   5   หลัก

                                มี   2   หลัก   ในกรณีที่ตัวเลขทั้งหมดมี   4   หลัก

                                ตัวเลขหลักที่เหลือนี้จะ  ต้องหารด้วย   100   เสมอ  เช่น SAE  4320

    หมายความว่า  - เป็นมาตรฐานเหล็กระบบ  SAE
                                   -เป็นเหล็กกล้าประสมโมลิบดินัม

                                                   -โมลิบดินัม  3

                                                  -มีคาร์บอน 20/100     =0.2%

 

                SAE  1035  หมายความว่า  -      เป็นมาตรฐานเหล็กระบบ  SAE เป็นเหล็กกล้าคาร์บอน  มีคาร์บอน    35/100      =0.35%

                SAE  52100 หมายความว่า  -    เป็นมาตรฐานเหล็กระบบ  SAE เป็นเหล็กกล้าประสมโครเมียม มีโครเมียม  2% มีคาร์บอน   100/100   =   1% 

 

                2.ระบบ  AISI  (American  Iron  and  Steel  Institute)

                                การกำหนดมาตรฐานระบบนี้  ตัวเลขดัชนีจะมีจำนวนหลักและตัวชี้บอกส่วนประสมจะเหมือนกับระบบSAE  จะแตกต่างที่ระบบ  AISI  จะมีตัวอักษรนำหน้าตัวเลข  ซึ่งตัวอักษรนี้  จะบอกถึงกรรมวิธีการผลิตเหล็กว่าได้ผลิตมาจากเตาชนิดใด

                                ตัวอักษรที่บอกกรรมวิธีผลิตเหล็กจะมีดังนี้

                                                A       คือ  เหล็กประสมที่ผลิตจากเตา  Bassemer  ชนิดที่เป็นด่าง

                                                B       คือ  เหล็กประสมที่ผลิตจากเตา  Bassemer  ชนิดที่เป็นกรด

                                                C       คือ  เหล็กที่ผลิตจากเตา  Open  Hearth  ชนิดที่เป็นด่าง

                                                D       คือ  เหล็กที่ผลิตจากเตา  Open  Hearth  ชนิดที่เป็นกรด

                                                E       คือ  เหล็กที่ผลิตจากเตา  Electric  Furnace

ตัวอย่าง

                AISI  E  3310

                                หมายความว่า  -  เป็นเหล็กมาตรฐานระบบ  AISI  เป็นเหล็กกล้าที่ผลิตจากเตาไฟฟ้าเป็นเหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม มีนิเกิล  3%  และโครเมียมประสมอยู่เล็กน้อย มีคาร์บอน  10/100  =  0.1%

 

                การแบ่งกลุ่มเหล็กตามลักษณะของกรรมวิธีการชุบแข็ง

                                ชื่อกลุ่ม                                                                                                  สัญญลักษณ์

                                  กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำ                                                                                   w                                                                                 

                                 กลุ่มที๋ทนต่อแรงกระแทก                                                                                S

                                 กลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำมัน                                                                 O

                               กลุ่มที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปเย็น(Cold  Working)                                                                      

                                สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลางและชุบแข็งโดยปล่อย                   A                                                    

ให้เย็นตัวในอากาศ

                               กลุ่มเหล็กกล้าที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปเย็น                                                D

                                สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนสูงและเหล็กกล้าประสมโครเมียมสูง               

                               กลุ่มเหล็กที่ผลิตโดยกรรมวิธีแปรรูปร้อน(Hot Workin)                         H

                               กลุ่มเหล็กรอบสูง(High  Speed  Steel)                                             T            

                               กลุ่มเหล็กกล้าคุณสมบัติพิเศษ(มีคาร์บอนและทังสเตนเป็นหลัก)            F

                                 กลุ่มเหล็กทำแม่พิมพ์                                                                                  P

 

ตัวอย่างและการใช้งาน

                W5  เป็นเหล็กกล้าที่ชุบด้วยน้ำ  มีส่วนประสม  1.1%C,0.5 %  Cr  ใช้ทำตัวประทับตราหรือเครื่องหมายบนโลหะ

                S2  เป็นเหล็กกล้ากลุ่มที่ทนต่อแรงกระแทก  มีส่วนประสม  0.29 % C,  0.5%  Mo,  1.0%  Si ใช้ทำตัวสกัดลม  สกัดที่ต้องทนต่อแรงกระแทก

                O2  เป็นเหล็กกล้ากลุ่มที่ชุบแข็งด้วยน้ำมัน  มีส่วนประสม  0.9%  C,  1.6%  Mn  ใช้ทำแม่พิมพ์  (Die and Punches)  ทำลูกกรีดเย็น  ทำดอกตัดเกลียวนอกและดอกเกลียวใน  (Tap and Die)

                T2  เป็นเหล็กกลุ่มเหล็กกล้าร้อนสูง  (High Speed Steel)  โดยมีทังสเตนเป็นส่วนประสมหลัก  มีส่วนประสม  0.8%  C,  18%  W,  4%  Cr,  2%  V  ใช้เป็นเครื่องมือตัดบนเครื่องกลึง

                P3  เป็นกลุ่มเหล็กกล้าสำหรับทำแม่พิมพ์  มีส่วนประสม  0.1%  C,  0.6%  Cr,  1.25%  Ni  ใช้ทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

 

                ระบบเยอรมัน

                การจำแนกประเภทของเหล็กตามมาตรฐานของเยอรมัน  จะแบ่งเหล็กออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้

                                -เหล็กกล้าคาร์บอน

                                - เหล็กกล้าผสมต่ำ

                                - เหล็กกล้าผสมสูง

                                -เหล็กหล่อ

 

                ระบบญี่ปุ่น จะแบ่งเหล็กตามลักษณะงานที่ใช้ 

                อักษรชุดแรก  จะมีคำว่า  JIS  หมายวามถึง Japanese Industrial Standard   อักษรสัญลักษณ์ตัวถัดมา  จะมีได้หลายตัว  ซึ่งแต่ละตัวหมายถึง  การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น

                A             งานวิศวกรรมก่อสร้างและงานสถาปัตย์             K      งานวิศวกรรมเคมี      

                B             งานวิศวกรรมเครื่องกล                                          L      งานวิศวกรรมสิ่งทอ

                C             งานวิศวกรรมไฟฟ้า                                               M     แร่

                D             งานวิศวกรรมรถยนต์                                            P      กระดาษและเยื่อกระดาษ

                E             งานวิศวกรรมรถไฟ                                               R      เซรามิก 

                F             งานก่อสร้างเรือ                                                    S        สินค้าที่ใช้ภายในบ้าน

                G             โลหะประเภทเหล็กและโลหะวิทยา                    T         ยา

                H             โลหะที่มิใช่เหล็ก                                                    W     การบิน

                Z             งานบรรจุหีบห่อ  งานเชื่อม  กัมมันตภาพรังสี

                ถัดจากอักษรจะเป็นตัวเลขซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  4  ตัว  มีความหมายดังนี้ ตัวเลขตัวแรก  หมายถึง  กลุ่มประเภทของเหล็ก  เช่น

                                0    เรื่องทั่ว ๆ ไป  การทดสอบและกฏต่าง ๆ

                                1    วิธีวิเคราะห์

                                2    วัตถุดิบ  เหล็ก  ธาตุประสม

                                3    เหล็กคาร์บอน

                                4    เหล็กประสม

                                9    เบ็ดเตล็ดและคำแนะนำ

                ตัวเลขตัวที่  2  จะเป็นตัวแยกประเภทของวัสดุในกลุ่มนั้น  เช่น  ถ้าในกรณีเหล็ก  จะมีดังนี้

                                1              เหล็กกล้าประสมนิเกิลและโครเมียม

                                2              เหล็กกล้าประสมอลูมิเนียมและโครเมียม

                                3              เหล็กไร้สนิม

                                4              เหล็กเครื่องมือ

                                8              เหล็กสปริง

                                9              เหล็กกล้าทนการกัดกร่อนและความร้อน

                เลขที่เหลือ  2  หลักสุดท้ายจะเป็นตัวแยกชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุนั้น  เช่น 

                                01                           เหล็กเครื่องมือ  คาร์บอน

                                03                           เหล็กไฮสปีด

                                04                           เหล็กเครื่องมือผสม

                ตัวอย่าง  JIS G 4102 หมายถึง  เหล็กประสมที่มีส่วนผสมของนิเกิลและโครเมียม

 

                2. การจัดทำมาตรฐานโดยวิธีการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification)

                                 เป็นการจัดให้ วัสดุ ครุภัณฑ์ ตรงตามลักษณะพึงประสงค์ของผู้ใช้ ในสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

                                                2.1 ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะทางราชการทหาร (Military specification) ใช้สำหรับการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ และยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในราชการทหาร เช่น รถสงคราม ยานเกราะ ปืน เรืองรบ อาวุธ เสื้อผ้า ฯลฯ

                                                2.2 ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของรัฐบาลกลาง (Federal Specification) เป็นข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในการจัดหาพัสดุทั่วไปที่เหมือนกันทั้งทางทหารและพลเรือน ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย General Service Administration (G.S.A.) เป็นผู้กำหนด

 

                ขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดมาตรฐานวัสดุ

                                1.การจัดหน่วยงานจัดมาตรฐาน   หมายถึง   การจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่หรือมอบหมายให้หน่วยงานหนึ่งเป็นผู้อำนวยการ

                                2. การสำรวจรายการวัสดุ  เพื่อรวบรวมรายการวัสดุทั้งหมดที่ใช้ในหน่วยงานคุณลักษณะที่จะเป็นในขั้นแรก  เช่น  รูปร่าง  สี  ขนาดคุณสมบัติ  และประโยชน์ใช้งาน ฯลฯ  แล้วจำแนกรายการวัสดุเป็นพวกๆ วัสดุแต่ละรายการจะต้องกำหนดที่ใช้และประโยชน์ใช้สอย

                                3.งานขั้นต่อไป  คือ  การศึกษาวิเคราะห์หรือการเปรียบเทียบวัสดุ  ซึ่งจำแนกอยู่ในประเภทเดียวกัน  อาจจะทำได้หลายวิธี  คือ

                                                3.1  การศึกษาวิเคราะห์อย่างง่าย (Simplification studies) โดยการเปรียบเทียบประสิทธิภาพคุณภาพของวัสดุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในประเภทนั้น ๆ โดยจัดแบ่งออกเป็น  3  จำพวก  คือ 

                                                3.1.1  วัสดุมาตรฐาน (Standard item) เป็นวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสมใช้ได้ดีที่สุด  อนุญาตให้ใช้เป็นมาตรฐานในการจัดหาและแจกจ่ายวัสดุเพื่อใช้งานตลอดไป

                                                3.1.2  วัสดุมาตรฐานจำกัด (Limited standard item) เป็นวัสดุที่มีคุณภาพด้อยกว่าวัสดุมาตรฐานจำพวกแรก  อนุญาตให้จัดหามาใช้ตามความจำเป็นเป็นครั้งคราว  ตามที่ได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น

                                                3.1.3  วัสดุไม่เข้ามาตรฐาน (Nonstandard item) พัสดุจำพวกนี้ไม่อนุญาตให้จัดหามาใช้งาน  ถ้ามีอยู่ในคลังพัสดุแล้วก็ให้ใช้เท่าที่มีอยู่จนหมดไป  แล้วจึงจัดหาวัสดุจำพวกมาตรฐานเข้ามาแทน

                                3.2  การศึกษาวิเคราะห์ทางเทคนิค ( technical  analysis  studies ) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ที่คล้ายคลึงกับวิธีแรก  แต่เพิ่มความละเอียดลึกซึ้งกว่าเกี่ยวกับทางเทคนิค 

                                3.3  การศึกษาวิเคราะห์ทางเทคนิคการปฏิบัติทางช่าง (Engineering practices studies)  เป็นการศึกษาวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์สมรรถนะ  ขีดความสามารถ 

                4.  การกำหนดคุณลักษณะของรายการวัสดุที่เป็นมาตรฐาน  ไว้อย่างชัดเจนรวมทั้งวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้สอยได้โดยอาจกำหนดเป็นรายละเอียดของวัสดุแต่ละประเภท และแต่ละรายการจะแยกจากกันหรืออีกวิธีหนึ่งคือรวบรวมเป็นเล่มเดียวกันในรูปสมุดคู่มือรายการวัสดุ (catalog) ซึ่งประกอบด้วยการบัญญัติชื่อ   การบรรยายลักษณะอย่างย่อ ๆ การจำแนกประเภทตามการใช้งาน  และการกำหนดหมายเลขลำดับ (serial number) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการค้นหา

                5. การกำหนดรายการวัสดุที่เป็นมาตรฐาน  เมื่อได้ดำเนินการข้างต้นแล้วก็อาจจะได้รายการวัสดุที่กำหนดหรือปรับปรุงให้ดีขึ้นจนเป็นมาตรฐานรายการวัสดุ 

                6. จัดตั้งองค์กรควบคุมการใช้มาตรฐานวัสดุ  ขั้นสุดท้ายคือ  ควรมีการตั้งองค์กรซึ่งอาจเป็นรูปของคณะกรรมการสำหรับควบคุมดูแลมาตรฐานวัสดุโดยเฉพาะ

 

 

ประโยชน์ของการจัดมาตรฐานวัสดุ

                                1.ทำให้เกิดการตกลงร่วมกันของบุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ทำให้ประหยัดเวลาในการเจรจา ติดต่อ

                                2.ทำให้เกิดความประหยัด ทำให้เกิดความสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดหา นอกจากนี้พัสดุที่เป็นมาตรฐานยังทำให้เกิดความชำนาญในการผลิต และการจัดหา สะดวกต่อการบรรจุหีบห่อ

                                3.ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการบำรุงรักษา สามารถทดแทนหรือสับเปลี่ยนชิ้นส่วนซ่อมหรือวัสดุทดแทนต่างๆ ได้

                                4.ทำให้เกิดชื่อเสียงความนิยมและเชื่อถือและเกิดความปลอดภัยในการใช้

 

                การกำหนดหมายเลขวัสดุ

                                การกำหนดหมายเลขพัสดุมีวิธีการแตกต่างกันไปตามลักษณะและขนาดของธุรกิจหรือองค์การ  ซึ่งจะต้องออกแบบตามความต้องการและประโยชน์การใช้งานของกิจการนั้น ๆ  โดยเน้นให้เกิดความสะดวกและสามารถเข้าใจได้ง่าย

                                1.ในขั้นการเตรียมการขั้นแรก  การเก็บข้อมูลรายการวัสดุที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ที่สุด

                                                1.1 เขียนรายละเอียดวัสดุแต่ละชนิด  เช่น  ยี่ห้อ  รูปร่าง  ขนาด  ความสามารถในการทำงาน  ราคาต่อหน่วย  หน่วยใช้ คุณลักษณะเฉพาะ  จุดประสงค์ในการใช้  ความสามารถในการปฏิบัติงาน  และข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัย  อาจแสดงรูปไว้ด้วยถ้าทำได้

                                                1.2   สำหรับรายการครุภัณฑ์ ควรตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล โดยเปรียบเทียบรายการในแบบพิมพ์ที่ได้กับรายงานครุภัณฑ์ประจำปีของหน่วยงานเป็นประเภท ๆ ไป  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมในภายหลัง

                                                1.3 การกำหนดหมายเลขหรือรหัสของวัสดุจะกระทำได้หลังจากเปรียบเทียบ        แบบพิมพ์กับรายงานประจำปีตรงกันแล้ว  ให้แยกแบบพิมพ์ที่ตรวจแล้วไว้ต่างหาก  เพื่อให้หมายเลขครุภัณฑ์ต่อไป  ส่วนที่เหลือต้องพยายามหาวิธีการตรวจว่าสูญหายหรือจำหน่ายออกไปแล้วแต่ยังมิได้หักออกจากบัญชีครุภัณฑ์

                                2. การให้หมายเลข เริ่มด้วยการกำหนดจำนวนตัวเลขที่จะประกอบกันเป็นหมายเลขหรือรหัสของวัสดุแต่ละรายการ  ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนวัสดุที่จะควบคุม  ในองค์การขนาดใหญ่มักใช้ไม่ต่ำกว่า 10 หลัก สำหรับวัสดุประเภททั่วไปโดยแบ่งกลุ่มของหมายเลขออกเป็น 2 ส่วน  คือ  ส่วนแรกมี 4 หลัก  ใช้แทนประเภทและกลุ่มของประเภทวัสดุ  ให้เลข 2 หลักแรก  หมายถึงประเภท  (class)  หรือกลุ่ม  (group)  ของวัสดุ  ส่วนเลข 2 หลักหลัง  เป็นกลุ่มย่อย  หรือ  ประเภทย่อย  (subgroup  หรือ  subclass)  ที่ขยายกลุ่มใหญ่  เพื่อให้ของใช้งานประเภทเดียวกันอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน ส่วนที่ 2  มี 6 หลักใช้แทนลำดับที่ (serial number)  คือหมายเลขเรียงลำดับตามวัสดุที่นำมาสำรองในคลัง

 

                ประโยชน์การกำหนดหมายเลขวัสดุ

                                1.หมายเลขวัสดุเป็นสื่อกลางและสื่อความหมายได้ตรงกันทุกฝ่าย

                                2.ลดความสิ้นเปลืองทั้งด้านเอกสาร และเวลาในการติดต่อ

                                3.เป็นประโยชน์ในด้านการควบคุมวัสดุทางบัญชี

                                4.เป็นประโยชน์ในการบริหารการเก็บรักษาในคลังวัสดุ สามารถระบุสถานที่จัดเก็บและค้นหา โยกย้าย ได้รวดเร็วขึ้น

                                5.เปิดทางให้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงานด้านวัสดุได้

 

 

ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา

 

อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา

การศึกษา

                ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น