ความต้องการและแรงจูงใจ
นักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงได้มีความคิดในเรื่องความต้องการต่าง ๆ กัน ดังนี้
แนวความคิดของ อิริค ฟรอมม์ อธิบายว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่ 6 ประการ
1. ความต้องการมีความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับคนอื่น
2. ความต้องการทำในสิ่งที่ดีกว่าและเป็นผู้มีประสิทธิภาพ
3. ความต้องการสร้างรากฐานที่มั่นคงและมีสิ่งยึดเหนี่ยว ต้องการความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย ต้องการความผูกพัน
4. ความต้องการมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ต้องการความเป็นตัวของตัวเอง
5. ความต้องการเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างชัดเจน และต้องการมีชีวิตอยู่มีความหมายและมีความรัก
6. ความต้องการแสวงหาสิ่งตื่นเต้นและสิ่งเร้าต่าง ๆ ต้องการสิ่งแวดล้อมที่ท้าทาย ความสนใจและสิ่งเร้าที่ทำให้กระตือรือร้นในการร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ และการดำเนินชีวิต
ธรรมชาติของมนุษย์ในแนวความคิดของนักสังคมวิทยา
มรว. สมพร สุทัศนีย์ (2537 : 43 - 44) ได้กล่าว ไว้ว่ามนุษย์คือสัตว์สังคมที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอยู่รวมกันอย่างสงบสุขนั้น จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาทางสังคมเพื่อเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม กฎเกณฑ์ดังกล่าวเรียกว่า ปทัสถาน (Norms) ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภท คือ วิถีประชา (Folkways) จารีตประเพณี (Mores) และกฎหมาย (Laws)
1. กลุ่มญาติพี่น้อง สมาชิกในกลุ่มรวมตัวกันจากความสัมพันธ์ทางสายเลือด บุคคลในกลุ่มนี้มีความใกล้ชิด สนิทสนมมีความผูกพันกันมากจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระดับสูง กลุ่มพวกนี้ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นเครือญาติกัน รวมทั้งคู่สมรส
2. กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนบ้านใกล้ชิด สนิทสนม มีการติดต่อสัมพันธ์กันฉันท์มิตรให้ความช่วยเหลือโดยมิได้หวังผลตอบแทน ส่วนกลุ่มเพื่อนบ้านเช่น กลุ่มเพื่อนฝูงโรงเรียนเก่า รุ่นพี่รุ่นน้อง รุ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสนิทสนมกันมีความสัมพันธ์แบบถือวิสาสะกันได้มากพอสมควร
3. กลุ่มเพื่อนร่วมงาน กลุ่มนี้เป้นกลุ่มไม่เป็นทางการ ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก เพราะบุคคลส่วนใหญ่ใช้เวลาในที่ทำงาน บุคคลในกลุ่มนี้จึงมีความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือกัน
4. กลุ่มความสนใจ กลุ่มความสนใจเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากบุคคลมีความสนใจคล้าย ๆ กัน วัยรุ่น กลุ่มทางการเมือง กลุ่มทางเศรษฐกิจ กลุ่มนักเล่นกล้วยไม้ กลุ่มซุบซิบนินทา
สำหรับทฤษฎีองค์การแบบต่าง ๆ มีคติฐาน (Assumptions) เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ดังนี้
1. ทฤษฎีองค์การแบบคลาสสิคหรือทฤษฎีองค์การแบบดั้งเดิม
2. ทฤษฎีองค์การแนวมนุษย์สัมพันธ์
3. ทฤษฎีองค์การเน้นทรัพยากรมนุษย์
ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวทฤษฎีการจูงใจในการบริหาร
1. ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ Maslow ได้เสนอทฤษฎีแรงจูงใจซึ่งอธิบายถึงลำดับขั้นตอนความต้องการ (Hierarchy of Needs) ซึ่งเป็นที่มาของแรงจูงใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการตอบสนองย่อมมีผลกระทบต่อพฤติกรรม Maslow กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ว่าจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและความต้องการในรำดับต่ำจะต้องได้รับความพึงพอใจอย่างมากก่อนที่ความต้องการในลำดับต่อไปจะจูงใจหรือกระตุ้นพฤติกรรมตามความต้องการในอันดับต่อมา
ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มีดังนี้
ขั้น 1 ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เช่น อาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อน ที่อยู่อาศัย
ขั้น 2 ความต้องการความปลอดภัยในชีวิต คือ ความต้องการความปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ ต้องการความมั่นคงในชีวิตไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือการทำงาน
ขั้น 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ คือ ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเป็นมิตรจากบุคคลอื่น
ขั้น 4 ความต้องการได้รับการยกย่องสรรเสริญ ชื่อเสียง เป็นการต้องการยอมรับจากบุคลอื่น การมีเกียรติ การมีชื่อเสียงในสังคม อยากมีตำแหน่ง มีอำนาจ เป็นต้น
ขั้น 5 ความต้องการความสำเร็จ หรือต้องการตระหนักในตน เป็นการต้องการความสำเร็จ สมหวังในชีวิตตามที่บุคคลนั้นปรารถนา เช่น ต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งสูง หรือต้องการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ในสังคม
2. ทฤษฎีความต้องการของลัมคินส์ (Lumking) ลัมคินส์ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ประการ คือ
1.1 ความต้องการอยากรู้อยากเห็น
1.2 ความต้องการมีศักดิ์ศรีในตนเอง
1.3 ความต้องการการยอมรับจากสังคม
1.4 ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด
1.5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
“ มนุษย์ต้องการมีชีวิตรอด ” “ ต้องการการยอมรับจากสังคม ”
3. ทฤษฎีความต้องการ ERG. Clayton Aiderfer *ความต้องการดำรงอยู่
*ความต้องการความสัมพันธ์
*ความต้องการการเจริญเติบโต
*ความต้องการความสัมพันธ์
*ความต้องการการเจริญเติบโต
ตามทฤษฎี ERG. ความต้องการการดำรงอยู่จะเป็นความต้องการระดับต่ำสูงความต้องการเหล่านี้จะรวมความต้องการทางร่างกาย และความต้องการความปลอดภัย Maslow เข้าไว้ ความต้องการความสัมพันธ์จะรวมความต้องการทางสังคมและความต้องการการมีเกียรติยศชื่อเสียงของ Maslow เข้าไว้ และความต้องการการเจริญเติบโตจะเป้นความต้องการระดับสูงสุดภายในลำดับความต้องการของ Alderfer
4. ทฤษฎีจูงใจและธำรงรักษา Frederick Herzberg
ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจคนในการทำงาน เรียกว่า คนเรามีความต้องการที่แยกออกจากกัน โดยอิสระอยู่ 2 ประเภท และแต่ละประเภทมีผลต่อพฤติกรรมของคน ในทางที่ต่างกัน
ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจคนในการทำงาน เรียกว่า คนเรามีความต้องการที่แยกออกจากกัน โดยอิสระอยู่ 2 ประเภท และแต่ละประเภทมีผลต่อพฤติกรรมของคน ในทางที่ต่างกัน
4.1 ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงานหรือปัจจัยจูงใจ
- ลักษณะงาน
- ความก้าวหน้า
- การยอมรับนับถือ
- ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
- สัมฤทธิผลของงาน
- ความเจริญเติบโตขององค์การ
4.2 ปัจจัยที่ป้องกันการเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน หรือปัจจัยอนามัย หรือปัจจัยธำรงรักษา ได้แก่
- สภาพการทำงาน
- ผลตอบแทน
- การนิเทศงาน
- สถานภาพตำแหน่ง
- นโยบายขององค์การและการบริหารงาน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ในแง่การบริหาร ผู้บริหารจะต้องหมั่นปรับปรุงและเสริมสร้างปัจจัยที่ป้องกันการเกิดความไมพึงพอใจในการทำงาน ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมที่จะส่งเสริมความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
5. ทฤษฎีจูงใจในการบริหารของ Douglas
ของมนุษย์ตามแนวทฤษฎี X และทฤษฎี Y ไว้ดังนี้
1. Theory – X เชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะดังนี้
1.1 มนุษย์มีความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน มักจะหลบเลี่ยงการทำงานเมื่อมีโอกาส ดังนั้นจึงต้องจูงใจด้วยการบังคับควบคุม ลงโทษ ขู่ เพื่อให้เกิดความเกรงกลัว
1.2 มนุษย์จะชอบเป็นผู้ตาม ชอบรับคำสั่งจะพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย แต่ต้องการความมั่นคงในการทำงาน
2. Theory – Y เชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะดังนี้
2.1 มนุษย์มีความรักงาน จะทำงานด้วยความสุข การใช้แรงกายและสมองในการทำงาน ก็อาจทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือพึงพอใจ
2.2 มนุษย์จะมีการควบคุมตนเองในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การบริหารงานด้วยวิธีบังคับ ลงโทษ ข่มขู่ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะคนเราต้องรับผิดชอบในงานที่เขาทำและสามารถควบคุมตนเองได้
2.3 คนเรามิได้จูงใจได้ด้วยเงินเสมอไปแต่อย่างเดียว แต่จะเต็มใจทำงานหรือจูงใจได้ด้วยการตอบสนองความต้องการของเขาด้านสังคม การยอมรับนับถือและความสมหวังในชีวิต
2.4 มนุษย์จะมีความสนใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิด ทักษะการทำงานตลอดจนความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในการทำงาน
2.5 มนุษย์ปรารถนาความก้าวหน้า มีความสามารถที่จะปฏิบัติงาน และพร้อมที่จะรับผิดชอบเพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นองค์การหรือฝ่ายบริหารควรช่วยกระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงคุณสมบัติที่เขามีอยู่และเปิดโอกาสให้เขาแสดงความสามารถนั้น และพยายามทำให้ความปรารถนาหรือความต้องการของบุคลากรสอดคล้องกับความต้องการขององค์การ
อ้างอิง
อ.จิตติมา พลศักดิ์