การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึง การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง อุตสาหกรรม คู่แข่ง เทคโนโลยี และปัจจัยอื่นๆ ที่จะกระทบกับธุรกิจ
การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก เป็นการวิเคราะห์ที่ทำให้องค์กรมองเห็นโอกาสทางธุรกิจซึ่งหมายถึง สภาพแวดล้อมที่จะส่งผลกระทบต่อกิจการในด้านบวก ซึ่งองค์กรจะได้นำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับกิจกรรมรวมทั้งเห็นถึงปัญหาและอุปสรรค อันเป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรในด้านลบ ซึ่งกิจการจะต้องหลีกเลี่ยงหรือหาทางจัดการเตรียมรับมือกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้
ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก
ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งระดับโลกและระดับประเทศหรือท้องถิ่น สามารถแบ่งได้ 3 จำพวกใหญ่ ๆ มีดังต่อไปนี้
• สภาพแวดล้อมรอบนอก (remote environment)
• สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (industry environment)
• สภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน (Operating environment)
สภาพแวดล้อมรอบนอก เป็นสภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยปัจจัย ดังนี้
– เศรษฐกิจ (economic)
– สังคม วัฒนธรรมและประชากรศาสตร์ (social, cultural, demographic)
– การเมืองและกฎหมาย (Political and law)
– เทคโนโลยี (technological)
– สิ่งแวดล้อม (environment)
เศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ต้องพิจารณา ได้แก่
- ผลิตผลประชาชาติ (GNP) /ปริมาณเงิน (money supply) /อำนาจซื้อของผู้บริโภค / โครงสร้างเงินทุนต้นทุนของเงินทุน / หนี้สินทั้งภาครัฐและเอกชน / การจ้างงานและอัตราการว่างงาน / จำนวนแรงงาน /รายได้และแนวโน้มการใช้จ่ายของประชาชน / อัตราดอกเบี้ยทั้งภายในและภายนอกประเทศ / อัตราเงินเฟ้อ /วงจรธุรกิจ /ความสำเร็จและล้มเหลวของธุรกิจ / ตลาดหุ้น (stock market) / อัตราแลกเปลี่ยน / อัตราภาษี /ข้อตกลงของกลุ่มการค้าระหว่างชาติ
เขตการค้าภายในประเทศและสภาวะการส่งออกของประเทศ
- เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA)
- เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
- กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)
- กลุ่มเอเปค (OPEC)
- การร่วมมือกันของประเทศกำลังพัฒนา
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินการขององค์กร เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินทุนในการขยายกิจการมีต้นทุนสูงขึ้นหรือเงินทุนไม่เพียงพอ และทำนองเดียวกันการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เงินทุนในการขยายกิจการมีต้นทุนสูงขึ้นหรือเงินทุนไม่เพียงพอ และทำนองเดียวกันการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้กำไรลดลง และความต้องการสินค้าลดลงเนื่องจากสินค้ามีราคาสูงขึ้น
สังคม วัฒนธรรม และประชากรศาสตร์ จะเกี่ยวข้องกับ
- ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ความคิดเห็น
- รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมประชากรศาสตร์
- ความเชื่อทางศาสนา
- การศึกษาและระดับการรู้หนังสือ
- เชื้อชาติ
- สุขภาพและการให้ความสำคัญต่อสุขภาพของประชากร
- การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
- ทัศนคติต่อการงานและอาชีพ
- ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์และชื่อเสียงของกิจการ
- การใช้เวลาว่างของประชาชน
- การเห็นความสำคัญและจำเป็นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
- อัตราการสร้างครอบครัว
- อายุ เพศ อัตราการเกิดของประชากร และการเคลื่อนย้ายประชากรและแรงงาน
การเมืองและกฎหมาย ปัจจัยทางการเมืองที่ต้องพิจารณา ได้แก่
• ระบบการปกครอง
• พรรคการเมืองใดจะเป็นรัฐบาล
• นโยบายของรัฐบาล
• ความสามารถของรัฐบาล
• เสถียรภาพของรัฐบาล
• วิสัยทัศน์และการบริหารงานของรัฐบาล
• กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
กฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
• กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม
• กฎหมายป้องกันการผูกขาด
• กฎหมายด้านภาษี
• กฎหมายแรงงาน
• มาตรการและการควบคุมทางการค้าระหว่างประเทศ
• กฎระเบียบที่ต่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อกีดกั้นทางการค้า เช่น สินค้านำเข้า
การสนับสนุนต่างๆในด้านอุตสาหกรรม
• การได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
• การผลิตจากวัสดุรีไซเคิล (recycle materials)
• การสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งภาคการผลิต บริการ และการพาณิชย์ของรัฐบาล เช่น การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเงิน การตลาดและการผลิตแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย
• การให้ความช่วยเหลือแนะนำเรื่องการส่งสินค้าไปจำหน่ายต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการสร้างงานและส่งเสริมการลงทุนในประเทศ
เทคโนโลยี
• การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางเทคโนโลยี
• การคิดค้นสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
• การพัฒนาทางคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนประกอบของเครื่อง และโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ได้แก่ อินเตอร์เน็ต (internet) หุ่นยนต์ช่วยทำงาน
• ยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น
• การสื่อสารและเครือข่ายดาวเทียม เลเซอร์
• การโคลนนิ่ง
• ใยแก้วนำแสง (fiber optics)
• การโอนเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหาร
• ระบบฐานข้อมูล
• การลงบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
• การจัดการสินค้าคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์
• การทำพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ (e-commerce)
• การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า
• การถ่ายทอดเทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมภายนอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สภาพแวดล้อมทางสังคม (societal environment) ได้แก่ พลังกดดันโดยทั่วไปที่ไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมระยะสั้นขององค์การโดยตรง แต่จะมีอิทธิพลหรือมีผลกระทบต่อการตัดสินใจดำเนินงานระยะยาวขององค์กรโดยตรงมี 4 อย่างที่สำคัญคือ
- สภาวะทางเศรษฐกิจ
- เทคโนโลยี
- การเมือง - กฎหมาย
- สังคมและวัฒนธรรม
2. สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงาน (task environment) ได้แก่ ปัจจัยแปรต่างๆ ที่มีผลกระทบหรือถูกกระทบโดยตรงจากการดำเนินงานของบริษัท เช่น
- รัฐบาล
- ชุมชน
- ผู้จำหน่าย วัตถุดิบ
- คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ พนักงาน/สหภาพแรงงาน
- กลุ่มผลประโยชน์ และสมาคมการค้า
“สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับงาน ก็คือ อุตสาหกรรม (industry) ที่บริษัทดำเนินกิจกรรมอยู่”
สภาพแวดล้อมมหภาค (macroenvironment)หรือ “สภาพแวดล้อม ทั่วไป” (general environment) ได้แก่ พลังผลักดันและสภาวะต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของทุกบริษัทและทุกองค์การในระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยที่บริษัทไม่สามารถควบคุมได้
- องค์ประกอบประชากร หรือ ประชากรศาสตร์ (demographic)
- การเมือง (political)
- สังคม/วัฒนธรรม (social/cultural)
- เทคโนโลยี (technological)
- กระแสโลกาภิวัตน์ (tide of globalization)
สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม กลยุทธ์ทางการแข่งขัน (compertitive strategy) พิจารณาถึงปัจจัยผลักดันทางการแข่งขัน 5 ประการ
– คู่แข่งขันรายใหม่ (New entrants)
– สินค้าทดแทน (substibutes products)
– อำนาจต่อรองของผู้ขาย (bargaining power of suppliers)
– อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (bargaining power of buyers)
– การแข่งขันกันระหว่างธุรกิจ (rivaly amony competing firms)
คู่แข่งขันรายใหม่ เป็นองค์ประกอบที่กิจการจะต้องพิจารณาถึงความสามารถในการเข้ามาสู่ธุรกิจของคู่แข่งรายใหม่ และปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือเป็นอุปสรรคที่เข้ามาสู่อุตสาหกรรม เช่น ความได้เปรียบของต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเนื่องจากมีขนาดของการผลิตเป็นจำนวนมาก (economy of scale) ศักยภาพของคู่แข่งขันรายใหม่ กฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมายในการเข้าสู่ธุรกิจ จำนวนของเงินลงทุน จำนวนและการเพิ่มขึ้นของผู้แข่งขันในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยี ในการผลิตและการจำหน่าย ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การขาดประสบการณ์ ขาดช่องทางในการจัดจำหน่าย ความจงรักภักดีในการตราสินค้า นโยบายของรัฐบาล อัตราภาษี การจัดหาวัตถุดิบ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และสัมปทาน
สินค้าทดแทน
สินค้าทดแทน คือสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้หรือบริโภคแทนกันได้ ซึ่ง ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น ผู้ผลิตภาชนะพลาสติก แข่งขันกับผู้ผลิตภาชนะแก้ว ร้านพิซซ่า แข่งขันกับร้านไก่ทอด การแข่งขันจะถูกกดดันจาก การเพิ่มขึ้นของสินค้าทดแทน คุณสมบัติและราคาสินค้าทดแทนต้นทุนการเปลี่ยนสินค้าทดแทนลดลง และความอยากง่ายของการหาสินค้าทดแทนความสำเร็จของการแข่งขันด้านสินค้าทดแทน
สามารถวัดได้จาก
- ส่วนแบ่งตลาดและความสามารถในการเจาะตลาดได้มากขึ้นของธุรกิจ หากผู้ผลิตต้องการจะรักษาระดับความต้องการสินค้าหรือวัตถุดิบไว้ให้ได้
- ผลิตสินค้าและวัตถุดิบนั้นให้มีคุณสมบัติหรือลักษณะเด่นเฉพาะซึ่งลูกค้าไม่อาจหาได้จากผู้ผลิตรายอื่นๆ หรือ
- ในราคาที่เท่ากัน คุณภาพของสินค้าหรือวัตถุดิบของกิจการดีกว่าของคู่แข่งขัน
อำนาจต่อรองของผู้ขาย
อำนาจต่อรองของผู้ขาย มีผลต่อสภาพการแข่งขัน เมื่อผู้ขายมีเป็นจำนวนมากผู้ขายจะมีอำนาจต่อรองต่ำ หรือหากมีสินค้าและวัตถุดิบทดแทนไม่มากในตลาด หรือต้นทุ่นในการเปลี่ยนวัตถุดิบจะสูงขึ้นจะทำให้ผู้ขายมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ดังนั้น อุตสาหกรรมการผลิตหลายรายอาจตัดสินใจขยายกิจการ
ตามแนวดิ่งไปด้านหลังโดยการผลิตวัตถุดิบเอง เพื่อให้มีวัตถุดิบอย่างเพียงพอขณะเดียวกันก็เปลี่ยนตนเองไปเป็นผู้ขายด้วย
การพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ขาย เช่น ผู้ขายจะเปลี่ยนไปเป็นผู้แข่งขันใหม่ของธุรกิจ การรวมตัวของผู้ขาย หรือผู้ขายอาจจะเลิกกิจการ และหากมีผู้ขายน้อยรายอาจจะทำให้กิจการขาดแคลนวัตถุดิบได้ ฉะนั้น เพื่อประโยชน์ทั้งผู้ขายและผู้ผลิต กลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ผลิตอาจต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- การจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม
- การปรับปรุงคุณภาพสินค้า
- การพัฒนารูปแบบการบริการให้สะดวกขึ้น
- การส่งสินค้าให้ทันเวลา
- การลดต้นทุนสินค้า อันจะทำให้มีกำไรในระยะยาว
การแข่งขันระหว่างธุรกิจ
การแข่งขันกันระหว่างธุรกิจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของปัจจัยผลักดันทางการแข่งขันทั้งห้าประการ กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ ต้องเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์ของธุรกิจแต่ละครั้ง อาจได้รับการโต้ตอบจากคู่แข่งขัน เช่น การใช้กลยุทธ์ราคาต่ำ การยกระดับคุณภาพ การเพิ่มจุดเด่นของสินค้า การให้บริการเพิ่มเติม การขยายเวลารับประกัน และการเพิ่มการโฆษณามากขึ้นความรุนแรงระหว่างการแข่งขันระหว่างธุรกิจ ขึ้นอยู่กับ
- จำนวนและการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งขัน
- การเติบโตของผู้แข่งขันทั้งขนาดและความสามารถ
- ความต้องการสินค้าของธุรกิจลดลง
- การตัดราคา การแข่งขันจะสูงขึ้น
- ผู้บริโภคพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตราหรือยี่ห้อสินค้าได้ตลอดเวลา
- ธุรกิจไม่อาจออกจากตลาดได้ง่าย
- ต้นทุนคงที่สูง
- สินค้าเป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย
- คู่แข่งขันใช้กลยุทธ์หลากหลายเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐาน
สภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน
– ตำแหน่งทางการแข่งขัน (competitive position)
– ลูกค้า (customers)
– ผู้ขาย (suppliers)
– เจ้าหนี้ (creditors)
– ตลาดแรงงาน (labor market)
ตำแหน่งทางการแข่งขัน
ตำแหน่งทางการแข่งขันเป็นสิ่งธุรกิจจำเป็นต้องประเมินตำแหน่งของธุรกิจ เพื่อพิจารณาปรับปรุงพัฒนาและวางแผนกลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ เกิดขึ้นให้ได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เกณฑ์ในการประเมินจากปัจจัยทางการแข่งขันหลายๆ ด้าน ได้แก่
- ส่วนแบ่งตลาด (market share)
- ความกว้างของสายการผลิต (breadth of product line)
- ประสิทธิผลของการจัดจำหน่าย (effectiveness of sales distribution)
- ความได้เปรียบในการเป็นเจ้าของ (proprietary advantages)
- การแข่งขันทางด้านราคา (price competitiveness)
- ประสิทธิผลทางการโฆษณาประชาสัมพันธ์ (advertising and promotion effectiveness)
- ทำเลที่ตั้งและอายุของเครื่องอำนวยความสะดวก (location and age of facility)
- กำลังการผลิต และผลิตภาพ (capacity and productivity)
- ประสบการณ์ (experience)
- ต้นทุนวัตถุดิบ (raw materials costs)
- ฐานะทางการเงิน (financial position)
- คุณภาพของผลิตภัณฑ์ (product quality)
- ความได้เปรียบด้านการวิจัยและพัฒนา (research and development advantages position)
- คุณภาพและความสามารถของบุคลากร (caliber of personnel)
- ภาพลักษณ์ทั่วไปของธุรกิจ (general images)
- ประวัติของลูกค้า (customer profile)
- สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ (patent and copyright)
- ความสัมพันธ์กับสหภาพ (union relations)
- ระดับการใช้เทคโนโลยี (technological position)
- ชื่อเสียงต่อชุมชน (community reputation)
ลูกค้าปัจจัยบางประการที่เป็นอันตรายต่อข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
• ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของเรา เพราะว่าเราคิดว่า สินค้าของเราดี
• ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของเรา เพราะว่าเป็นสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า
• ผู้บริโภคจะยอมรับสินค้าของเรา ถ้าสินค้านั้นดีเยี่ยม
• ผู้บริโภคจะไม่เสี่ยงในการซื้อสินค้าจากเรา แทนการซื้อจากผู้ขายเดิม
• สินค้าจะขายได้โดยตัวของมันเองผู้จัดจำหน่ายไม่สนใจที่จะเก็บรักษาสต๊อคสินค้า และบริการเกี่ยวกับสินค้า
• เราสามารถพัฒนาสินค้าได้ทันเวลาภายใต้งบประมาณที่วางแผนไว้
• เราจะไม่ประสบกับปัญหาในด้านสิทธิและความเป็นธรรมของผู้ร่วมงาน
• ผู้แข่งขันจะโต้ตอบอย่างมีเหตุผล
• เราสามารถปกป้องสินค้าของเราจากการแข่งขันได้
• เราสามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
• ส่วนอื่นๆ ของบริษัท จะสนับสนุนกลยุทธ์ของเราและจะช่วยเหลือเมื่อเราต้องการ
ผู้ขาย ในการวิเคราะห์ผู้ขายหรือผู้จัดหา จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับผู้ขาย มีความจำเป็นต่อการอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจโดยปกติธุรกิจต้องอาศัยผู้จัดหาหรือผู้ขายโดยการได้รับการสนับสนุน
- ด้านการเงินหรือสินเชื่อ
- การบริการ
- วัตถุดิบ
- เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
- การส่งสินค้าให้อย่างรวดเร็ว การได้รับสิทธิในการรับเงื่อนไขการชำระเงินเป็นพิเศษ
ปัจจัยในการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างองค์การหรือธุรกิจกับผู้ขาย
- ราคาสินค้าของผู้ขายเป็นราคาของการแข่งขันหรือไม่
- ผู้ขายมีข้อเสนอที่ดึงดูดใจด้วยปริมาณและส่วนลดการค้าหรือไม่
- ค่าใช้จ่ายในการขนส่งจำนวนเท่าไร
- ผู้ขายมีการแข่งขันในด้านมาตรฐานในการผลิตหรือไม่
เจ้าหนี้การพิจารณาในการประเมินเจ้าหนี้
- เจ้าหนี้ตีราคามูลค่าของสินค้าที่ใช้ค้ำประกันสินเชื่ออย่างยุติธรรมเพียงใด
- เจ้าหนี้ยอมรับข้อมูลในการจ่ายชำระหนี้ของธุรกิจในอดีตที่ผ่านมาเพียงใด
- เงินทุนหมุนเวียนมีสภาพคล่องเพียงใดเงื่อนไขของเจ้าหนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำกำไรของธุรกิจหรือไม่
-เจ้าหนี้สามารถขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปหรือไม่ช่วยให้ธุรกิจสามารถพยากรณ์และวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากร และสามารถดำเนินกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ตลาดแรงงาน
ตลาดแรงงานเป็นการพิจารณาเกี่ยวกับความสามารถของธุรกิจที่จะดึงดูดใจให้บุคลากรที่มีค่าต่อองค์กร เข้าสู่และยังคงอยู่กับองค์กรธุรกิจเพื่อนำมาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จต่อไป โดย ทั่วไป ธุรกิจจะได้บุคลากรจากสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยเอื้ออยู่ 3 ประการ
1. ชื่อเสียงของธุรกิจในฐานะที่เป็นนายจ้าง ได้แก่ชื่อเสียงด้านความมั่นคง ชื่อเสียงของสินค้าและบริการภาพลักษณ์ต่อชุมชนการให้ผลตอบแทนทั้งค่าจ้างและสิทธิพิเศษต่างๆ และสวัสดิการ
2. อัตราการจ้างงาน จะเกี่ยวข้องกับจำนวนแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะแปรผันไปกับการเจริญเติบโตของชุมชน เช่น โรงงานผลิตสินค้าใหม่ ๆ จะมีปัญหาเรื่องการเสาะหาแรงงานที่มีทักษะในชุมชนอุตสาหกรรม มากกว่าชุมชนที่ไม่ได้เป็นชุมชนอุตสาหกรรมซึ่งมีสภาพเศรษฐกิจไม่ดี
3. จำนวนแรงงานที่มีอยู่ จะพิจารณาถึงจำนวนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะเหมาะสมกับงาน เช่น ช่างเทคนิค ช่างประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน หัวหน้าคนครัว และผู้บริหารอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในการว่าจ้างบุคคลเหล่านี้ จะมีข้อจำกัดของตลาดแรงงานมากกว่าการว่าจ้างแรงงานหน้าที่ทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา
อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University
If you're attempting to lose kilograms then you certainly need to start following this totally brand new personalized keto meal plan.
ตอบลบTo produce this service, certified nutritionists, fitness trainers, and chefs joined together to develop keto meal plans that are useful, decent, price-efficient, and delightful.
Since their launch in January 2019, thousands of people have already transformed their figure and health with the benefits a professional keto meal plan can provide.
Speaking of benefits: in this link, you'll discover 8 scientifically-tested ones given by the keto meal plan.