การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กร เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยเชิงกลยุทธ์อีก 2 ตัว คือจุดแข็ง และจุดอ่อน ของบริษัท อันเป็นปัจจัยที่บริษัทนำมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบจากโอกาส ที่เปิดให้จากภายนอก และเพื่อหลีกเลี่ยง อุปสรรค หรือภัยคุกคาม ที่จะเกิดขึ้น
หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
1.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตามหน้าที่ทางธุรกิจ
2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตามรูปแบบของแมคคินซีย์
3.ห่วงโซ่แห่งคุณค่า
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตามหน้าที่ทางธุรกิจ
a. การตลาด (marketing)
b. การเงินและการบัญชี (financial and accounting)
c. การผลิตและการดำเนินการ (production and operations)
d. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management)
e. การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
f. ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Systems)
g. โครงสร้างองค์กรและการจัดการทั่วไป (Organization and general management)
การตลาด ความสำเร็จของการจัดการด้านการตลาด คือ การเติบโตของยอดขายตลาด
- กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ จะเกี่ยวข้องกับการพิจารณาทั้งตัวสินค้าและบริการของธุรกิจในด้านต่าง ๆ ความกว้างของสายผลิตภัณฑ์ ความหลากหลายรูปแบบของสินค้า คุณภาพสินค้า ลักษณะเด่นและแตกต่างของสินค้า การบริการที่ดีและเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
- กลยุทธ์ด้านราคา การตั้งราคาสินค้าหรือบริการ การตั้งราคาตามราคาพื้นฐาน ราคาที่ยืดหยุ่นได้ การให้ส่วนลด ระยะเวลาการชำระเงินหรือการให้สินเชื่อ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและการเก็บรักษา
- กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการจำหน่ายโดยการขายปลีก ขายส่ง ขายตรง ขายผ่านตัวแทน และขายผ่านเวบไซต์ (web site) หรือพาณิชย์อีเล็คทรอนิคส์ (e - commerce)
กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมทางการตลาด การโฆษณาการประชาสัมพันธ์ การขายโดยพนักงานขาย เงื่อนไขการขาย ลด แลก แจก แถม รวมถึงการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและการส่งเสริมการขายอื่นๆ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์
1) การเสนอบริการและการสนับสนุนที่ดี
2) เป็นบริษัทที่มีจริยธรรม
3) มีส่วนช่วยให้เกิดความก้าวหน้าของประเทศ
4) มุ่งมั่นต่อความเป็นเลิศ
5) มีสินค้าและบริการหลากหลาย
6) ง่ายที่จะทำธุรกิจด้วย
7) มีสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง
8) มีกิจกรรมเปิดเผยและซื่อสัตย์ต่อสาธารณะชน
การเงินและการบัญชี
(1) การลงทุน (investment decision)
(2) การจัดหาเงินทุน (financing decision)
(3) นโยบายเงินปันผล(dividend decision)
การผลิตและการดำเนินงาน
(1) กระบวนการผลิต (process)
(2) กำลังการผลิต (capacity)
(3) สินค้าคงคลัง (inventory)
(4) กำลังคน (workforce)
(5) คุณภาพ (quality)
ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรให้เหมาะกับงาน คุณภาพและคุณสมบัติและจำนวนบุคลากรในทุกระดับ ระบบการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ระบบการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงาน สหภาพแรงงาน และกิจการ ภาพพจน์และชื่อเสียงของกิจการ ระบบการบริหารและโครงสร้างการบริหารบุคคล บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ และการเห็นคุณค่าและให้โอกาสแก่บุคลากร
ด้านการวิจัยและพัฒนา
กิจการที่ตัดสินใจลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะมีความเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่จะนำ ไปสู่การผลิตหรือเสนอสินค้าและบริการที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เช่น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ก่อนคู่แข่งขัน รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นและปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงค่าใช้ จ่ายในการวิจัยและพัฒนาด้วย
การวิจัยและพัฒนา สามารถทำได้ 2 วิธี คือ วิจัยและพัฒนาโดยกิจการเอง ซึ่งมักเป็นกิจการที่มีแผนกวิจัยและพัฒนา หรือทำโดยการจ้างบุคคลภายนอกหรือหน่วยงานอิสระทำวิจัยและพัฒนา
ระบบข้อมูลสารสนเทศ
ระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นการพิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยี เพื่อจัดการกับข้อมูลของธุรกิจให้เป็นระบบ อันจะทำให้ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างมีเหตุผลและทันเวลา ข้อมูลดังกล่าวนี้ ได้แก่ ยอดขาย การปฏิบัติงาน จำนวนเงินสด ลูกค้า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ขาย ซึ่งข้อมูลจะต้องมีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็นต่อการตัดสินใจ ดังนั้น ธุรกิจจึงควรตรวจสอบว่าธุรกิจมีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศหรือไม่ และมีการจัดการอย่างมีคุณภาพเพียงใด ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใช้กับการจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศ เช่น เครื่องมือและอุปกรณ์ บุคลากร
โครงสร้างขององค์การและการจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การและการจัดการทั่วไป เป็นการตรวจสอบภายในของธุรกิจเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดโครงการขององค์การ ภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์การ สถิติของการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุม บรรยากาศในการทำงานในองค์การ ระเบียบวิธีปฏิบัติงานและเทคนิคในการตัดสินใจ ความสามารถและทักษะของผู้บริหารระดับสูงและสิทธิประโยชน์ การวางแผนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ และมีการร่วมมือกันหรือเป็นพันธมิตรระหว่างธุรกิจในการดำเนินงานเพียงใด รวมถึงการจัดการเชิงคุณภาพ
รูปแบบของแมคคินซีย์ (Mckinsey' s 7 - S)
แมคคินซีย์ เป็นบริษัทให้คำปรึกษาทางด้านการจัดการที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในอเมริกา ได้ตั้งกลุ่มทำงานขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ในต้นปี ค.ศ. 1977 เพื่อทำการศึกษาวิจัยว่า บริษัทควรจะจัดการบริหาร งานอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ การศึกษาเรื่องนี้ใช้เวลา 2 ปี ในที่สุดกลุ่มทำงานได้สรุปผลการค้นคว้าวิจัยว่า ความสำเร็จในการบริหารงานธุรกิจที่สัมฤทธิ์ผลนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยตัวแปร 7 ตัว หรือ "Seven S's" ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน
• S1 = Structure (โครงสร้าง)
• S2 = Strategy (กลยุทธ์)
• S3 = Systems (ระบบต่าง ๆ)
• S4 = Style (รูปแบบการบริหาร)
• S5 = Staff (พนักงานทั้งหมด)
• S6 = Skills (ทักษะฝีมือ)
• S7 = Shared values (ค่านิยมร่วม)
1. กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน ของกิจการ
2. โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ ของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาค ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ
4. รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ
2. โครงสร้าง (Structure) เป็นโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และการกระจายอำนาจ ของผู้บริหาร การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า ตามภูมิภาค ได้อย่างเหมาะสม
3. ระบบ (System) หมายถึงกระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่างที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ
4. รูปแบบ (Style) หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ
5. การจัดการบุคคลเข้าทำงาน (Staff) หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลกรอย่างต่อเนื่อง
6. ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ
7. ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
6. ทักษะ (Skill) หมายถึง ความโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิต การขาย การให้บริการ
7. ค่านิยมร่วม ( Shared value) หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ตัวอย่าง “ค่านิยมร่วม” เช่น
- (แมคโดนัลด์ : QSCV ( = quality - service - cleanliness - value)
- (สายการบิน Southwest : สนุก อบอุ่น เป็นมิตร (Fun, warm, friendly)
- ( วอบ - มาร์ท : บริการฉันท์มิตรและราคาถูก (Friendly service and low prices)
- (มอโตโรลา : คุณภาพคือหลักสำคัญ (Quality is key)
ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (boston matrix)
เครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในที่สำคัญและนิยมใช้กันมาก ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจ คือ การวิเคราะห์ด้วยรูปแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า ซึ่งเป็นแนวคิดของ ไมเคิล อีพอร์ตเตอร์ (Michael E. Porter) ห่วงโซ่แห่งคุณค่าจะอธิบายถึงวิธีของการวิเคราะห์ธุรกิจในลักษณะของกิจกรรมของธุรกิจอย่างเป็นลูกโซ่ ในการที่จะเปลี่ยนสภาพของปัจจัยการผลิต (inputs) ให้เป็นผลิตภัณฑ์ (outputs) ที่มีคุณค่าต่อลูกค้า การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า จะเป็นการพยายามที่จะเข้าใจถึงการสร้างคุณค่าต่อลูกค้าได้อย่างไรด้วยกาตรวจสอบกิจกรรมของธุรกิจการวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า จะพิจารณาถึงกิจกรรมของธุรกิจ 2 ประเภท คือ
(1) กิจกรรมหลักหรือกิจกรรมพื้นฐาน (primary activities)
(2) กิจกรรมสนับสนุน (supporting activities)
กิจกรรมหลักหรือกิจกรรมพื้นฐาน
การขนส่งภายใน (inbound logistics) เป็นกิจกรรม ต้นทุน และสินทรัพย์ที่ใช้ไปสำหรับระบบการนำเข้า เช่น การจัดหาพลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุดิบ ชิ้นส่วนของสินค้าสำเร็จรูป สินค้าคงคลัง กระบวนการจัดหาสินค้าคงคลังจากผู้ขาย การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า การควบคุมและเก็บรักษาสินค้า และการจัดส่งสินค้าการปฏิบัติงาน (operations) เป็นกิจกรรม ต้นทุน และสินทรัพย์ที่ใช้ไปสำหรับการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น การผลิต การประกอบชิ้นส่วน การบรรจุหีบห่อ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวก การดำเนินงานผลิต การประกันคุณภาพ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม
การขนส่งภายนอก (outbound logistics) เป็นกิจกรรม ต้นทุน และสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายสินค้าไปสู่ผู้ซื้อ ซึ่งในการจัดจำหน่ายสินค้าจะรวมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อ การวางแผนการจัดส่งและการขนส่งสินค้า รวมถึงคลังสินค้าสำเร็จรูป
การตลาดและการขาย (marketing and sales) เป็นกิจกรรม ต้นทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการขาย การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การวิจัยตลาด การวางแผนทางการตลาด และการสนับสนุนตัวแทนการจัดจำหน่าย
การบริการ (service) เป็นกิจการ ต้นทุน และสินทรัพย์ที่ใช้ไปเพื่อบริการและช่วยเหลือลูกค้า เช่น การบริการติดตั้ง การส่งมอบ และชิ้นส่วน การบำรุงรักษาและซ่อมแซม การบริการด้านเทคนิค และการรับคำร้องจากลูกค้า
กิจกรรมสนับสนุน
การบริหารทั่วไป (general administration) เป็นกิจกรรม ต้นทุนและสินทรัพย์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทั่วไป การบัญชีและการเงิน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ความปลอดภัย ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (human resource management) เป็นกิจกรรม ต้นทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาบุคลากร การจ้างงาน การพัฒนาและฝึกอบรมและระบบค่าตอบแทน ของบุคลากรแต่ละตำแหน่ง
การพัฒนาด้านงานวิจัยเทคโนโลยีและระบบ(research,technology, and systems development) เป็นกิจกรรม ต้นทุนและสินทรัพย์ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงออกแบบผลิตภัณฑ์ และวิศวกรรมความสามารถในการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ ๆ และการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์
การจัดซื้อจัดหา (procurement) เป็นกิจกรรม ต้นทุน และสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดหาสินค้า วัตถุดิบ วัสดุ บริการ และส่วนอื่นๆ ที่สนับสนุนกิจกรรมนี้ และบางครั้งกิจกรรมในส่วนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของการขนส่งภายใน
ขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษา
อาจารย์ณัฐธิดา ศรีราชยา
การศึกษา
ปริญญาตรี(BS) ภาควิชาวัสดุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท (MS)Polymer Science The Pretroleum and Petrochemical College Chulalongkorn University
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น